ติดต่อเรา
คำถามที่พบบ่อย
ไวรัสอยู่ในระบบทางเดินหายใจ ไม่ติดต่อทางผิวหนัง หรือทางเหงื่อ
ไม่จริง การฉีดพ่นฆ่าเชื้อบนร่างกายของผู้ที่สงสัย หรือติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไม่มีประโยชน์ เนื่องจากเชื้อโรคจะอยู่ในระบบทางเดินหายใจ หรือละอองฝอยที่ออกมาจากร่างกาย และมีโอกาสเป็นอันตรายต่อบุคคลนั้นเช่น เกิดการระคายเคืองผิว เยื่อบุต่าง ๆ และระบบทางเดินหายใจได้
ผู้ที่เป็นโรคต้อหินบางรายตาไม่บอด เกิดจากการตรวจค้นพบโรคต้อหินในระยะต้น รักษาได้ทันเวลาและต่อเนื่อง แต่บางรายอาจโชคร้ายมีโอกาสตาบอด หรือสายตาพิการจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที หากตรวจพบในระยะท้าย และไม่รักษาตาอาจบอดในเวลารวดเร็ว บางรายตาบอดใน 1-3 ปี หากดูแลรักษาต่อเนื่อง อย่างเข้มงวดและจริงจัง จะทำให้คงสภาพสายตา และมองเห็นได้แบบเดิมอย่างยาวนาน บางรายอาจมีสายตาคงที่ 10 ถึง 20 ปี
เนื่องจากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดเป็นผู้ป่วยที่ต้องเน้นกายภาพบำบัดการดูแลกายภาพบำบัดของที่ศูนย์จะเน้นให้นักกายภาพทำการฟื้นฟูเป็นหลักโดยวางแผนร่วมกับคุณหมอ จำนวนครั้งในการกายภาพบำบัดเฉลี่ยจะเกือบทุกวันต่อสัปดาห์ขึ้นอยู่กับตัวของคนไข้ที่สามารถฟื้นฟูได้มากน้อยอย่างไร
การปรับแรงดันการดูดเสมหะให้เหมาะสม เพื่อป้องกันเลือดออก และลดการระคายเคืองต่อเยื่อบุและเนื้อเยื้อต่างๆกรณีดูดเสมหะด้วยระบบปิด (Close system) ควรใช้แรงดันไม่เกิน 160 mmHg กรณีดูดเสมหะด้วยระบบเปิด (Open system) ควรปรับแรงดันให้เหมาะสมกับชนิดของการใช้งาน ดังนี้ เด็กเล็ก : 60 – 90 mmHg เด็กโต : 80 – 100 mmHg ผู้ใหญ่ : 100 -120 mmHg
การเลือกสายดูดเสมหะ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกของสายสำหรับดูดเสมหะที่เหมาะสม คือ ไม่เกิน ½ ของเส้นผ่าศูนย์กลางภายในของท่อเจอะคอ หรือผู้ใหญ่ใช้เบอร์ 14-16 Fr. เด็กเบอร์ 8-10 Fr. เพื่อป้องกันภาวะปอดแฟบ (Lung collapse) เนื่องจากสายดูดเสมหะขนาดใหญ่จะทำให้ช่องว่างของท่อหายใจลดลงจนไม่เพียงพอ สำหรับอากาศภายนอกที่จะไหลเข้ามาแทนที่อากาศที่ดูดออก สำหรับการดูดเสมหะระบบปิด (Close system) ตามหลักฐานเชิงประจักษ์แนะนำให้ใช้สายดูดเสมหะขนาดไม่เกิน 12 Fr. การประเมินผลการดูดเสมหะ ข้อบ่งชี้ที่แสดงว่า การดูดเสมหะได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ปริมาณเสมหะลดลง อัตราการหายใจ 12- 20 ครั้ง/ นาที และอัตราชีพจร 60- 80 ครั้ง/ นาที ไม่มีอาการหายใจลำบาก ไม่มีเสียงเสมหะภายในหลอดลมของผู้ป่วย ผิวหนัง เล็บมือ หรือเล็บเท้า มีสีเขียวคล้ำจากการพร่องออกซิเจน
ยาปฏิชีวนะไม่สามารถรักษาการติดเชื้อไวรัสได้ ยาปฏิชีวนะจะได้ผลดีในการรักษาการติดเชื้อจากแบคทีเรียเท่านั้น โรคโควิด 19 เกิดจากเชื้อไวรัส ดังนั้น ยาปฏิชีวนะจึงใช้ไม่ได้ผล ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะในการป้องกันและรักษาการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ในโรงพยาบาลแพทย์อาจสั่งยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการแทรกซ้อนของโรคโควิด 19 ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ดังนั้นจึงควรใช้ยาปฏิชีวนะภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น