การสำลักอาหารเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย
การสำลักอาหารเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย มีหลากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น ขนาดของอาหารที่ใหญ่เกินไป องศาการนั่งรับประทานที่ไม่ถูกต้อง หรือแม้กระทั่งการกลืนผิดจังหวะ อาจทำให้เสี่ยงต่อการสำลักและติดคอได้ Ladynurse จะมาแนะนำวิธีการช่วยเหลือผู้ป่วยเมื่อสำลักอาหารใน 8 ขั้นตอน ดังนี้ 1. หากผู้ป่วยเริ่มแสดงอาการทรมาน ไม่สามารถส่งเสียงได้ ลองทุบหลังตรงระหว่างไหล่ทั้งสองข้างก่อน 5 ครั้ง ด้วยแรงพอประมาณ หากอาหารยังลงไปไม่ลึกมาก อาจจะออกมาทางปากได้ 2. หากอาหารยังไม่ออกมา ให้เข้าทางด้านหลังของผู้ป่วย โอบผู้ป่วยจากทางด้านหลัง 3. เอามือประสานกัน กดไปที่หน้าอก ยกผู้ป่วยเล็กน้อย แล้วเขย่าตัวเพื่อให้ผู้ป่วยสำลักอาหารออกมา 4 ทั้งหมดนี้ควรรีบทำภายใน 3-5 นาทีที่แสดงอาการ เพราะอาจอันตรายถึงชีวิตได้ 5. หากผู้ป่วยมีอาการหายใจไม่ได้ พูดไม่ออก ให้จับผู้ป่วยนอนหงายบนพื้น เปิดทางเดินหายใจ ยกปลายคางขึ้น และ อีกมือหนึ่งกดหน้าผากลง เป่าปากเพื่อช่วยในการหายใจ 6. ถ้าลองเป่าปากแล้วหน้าอกไม่ยกขึ้น ให้ใช้มือกดที่ท้อง ในท่านอนหงาย 6-10 ครั้ง 7. ถ้าเป็นเด็กเล็กให้ใช้วิธีตบระหว่างสะบักทั้ง 2 ข้าง […]
จะดีแค่ไหนถ้ามีคนที่ไว้ใจได้ค่อยช่วยดูแลคนที่คุณรัก
ใกล้เทศกาลสงกรานต์แล้ว ปีนี้หลายคนคงได้กลับไปเยี่ยมครอบครัวหลังจากที่ไปไม่ได้มานาน แต่พอหมดวันหยุดก็ต้องห่างกันอีกครั้ง จะดีแค่ไหนถ้ามีคนที่ไว้ใจได้ค่อยช่วยดูแลคนที่คุณรัก 👩⚕️ให้ Ladynurse เป็นส่วนช่วยดูแลคนที่คุณรัก ❤️ ด้วยบริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน โดยพยาบาลมืออาชีพ สามารถดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยวิกฤติ ผู้สูงอายุ และผู้ที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ 🛏️ ให้บริการทั้งแบบไป-กลับ หรือพักอาศัยที่บ้านผู้ป่วย 🦽 สามารถเดินทางไปกับผู้ป่วยหลังการผ่าตัด หรือออกจากโรงพยาบาล มีบริการการดูแลให้เลือกหลากหลาย ❤️ ให้ Ladynurse ช่วยดูแลคนที่คุณรัก ติดต่อเรา 📱ทักด่วน https://line.me/R/ti/p/@440mmjva 📞โทรเลย 096 149 8999 คุณบุ๋ม 095 691 5999 คุณฟ้า 082 636 3555 คุณแนทตี้ #ladynurse #ATK #พยาบาล
5 สิ่งที่ต้องระวัง เมื่อดูแลผู้สูงอายุติดเตียง
อาการ “นอนติดเตียง” เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีสุขภาพร่างกายอยู่ในภาวะเสื่อมโทรม 👩⚕️ Ladynures จึงรวม 5 สิ่งที่ต้องระวัง เมื่อดูแลผู้สูงอายุติดเตียง 1. แผลกดทับจากการนอนนิ่งๆ เป็นเวลานาน แผลกดทับ เกิดจากการที่ผู้ป่วยนอนนานๆ บริเวณที่เป็นปุ่มกระดูกต่างๆ จะขาดเลือดมาเลี้ยงที่ผิวหนัง จึงทำให้เซลล์บางตัวตายจนเป็นแผลไปเรื่อยๆ สามารถเกิดขึ้นได้หลายจุด เช่น ท้ายทอย สะบัก ศอก สะโพก กระดูกก้นกบ ส้นเท้า เป็นต้น ในระยะแรกอาจเกิดอาการลอกแค่ที่ผิว แต่พอนานวันเข้าก็อาจจะลอกไปจนถึงชั้นกล้ามเนื้อ หรืออาจจะถึงชั้นกระดูก และเมื่อร่างกายปราศจากผิวหนังซึ่งทำหน้าที่ปกคลุมเเล้ว โอกาสเกิดการติดเชื้อจึงมีมากขึ้น และอาจรุนแรงถึงชีวิตได้ ผู้ดูแลควรพลิกตัวผู้ป่วยทุกๆ 2 ชั่วโมงด้วยท่านอนใหม่ 2. ภาวะกลืนลำบาก สาเหตุที่พบได้บ่อย คือ ความผิดปกติทางช่องปาก และคอหอยในผู้สูงอายุ จากโรคหลอดเลือดสมอง และภาวะสมองเสื่อม ซึ่งภาวะกลืนลำบาก มีความเสี่ยงต่อการสำลักในขณะรับประทานอาหาร อาจทำให้ปอดเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อ เพราะเศษอาหารหลุดเข้าไปที่หลอดลม หรือเศษอาหารชิ้นใหญ่อาจเข้าไปอุดหลอดลมได้ ดังนั้น ผู้ดูแลควรปรับเตียง 45-90 องศา นั่งบนเตียงโดยใช้หมอนช่วยดันหลังให้ทรงตัว นอกจากนี้ […]
รวมจุดเสี่ยงที่ต้องระวังในซีซั่นนี้
Ladynurse รวมจุดเสี่ยงที่ต้องระวังในซีซั่นนี้ มาให้ทุกคนแล้ว 1. ราวบันได 2. ราวจับในรถสาธารณะ 3. โทรศัพท์มือถือ 4. เงินสด 5. ลูกบิดประตู 6. พัสดุ/อาหารจากบริการขนส่ง 7. ก๊อกน้ำ 8. คีย์การ์ด เมื่อสัมผัสสิ่งเหล่านี้แล้วอย่าลืมล้างมือให้สะอาดด้วยนะคะ 👩⚕️ Ladynurse บริการตรวจเชิงรุก บริการโดยพยาบาลวิชาชีพ ตรวจง่าย รู้ผลเร็ว สบายใจแน่นอน ติดต่อเรา 📞โทรเลย 096 149 8999 คุณบุ๋ม 095 691 5999 คุณฟ้า 082 636 3555 คุณแนทตี้ #ladynurse #ATK #พยาบาล
เล่นเกมวันละนิด พิชิตอัลไซเมอร์
“ผู้สูงอายุไม่ใช่เป็นเพียงผู้ใหญ่ที่มีแค่ผมหงอก” แต่ผู้สูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงของระบบการทำงานของอวัยวะที่ได้รับผลกระทบจากความชราตามอายุที่เพิ่มขึ้น แต่ละระบบจะมีความเสื่อมเนื่องจากความชราไม่เท่ากัน ผู้สูงอายุมักจะมีปัญหาด้านสุขภาพเสื่อมโทรม มีโรคภัยต่างๆ เบียดเบียนทั้งโรคทางกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม โดยเฉพาะผู้มีอายุเกิน 65 ปี มักมีการเปลี่ยนแปลงทางสมองคือ โรคสมองเสื่อม โรคหลงลืม โรคซึมเศร้า โรคอัลไซเมอร์ เป็นหนึ่งในโรคที่เกิดจากความเสื่อมถอยของสมองซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ โดยไม่ใช่ความเสื่อมตามธรรมชาติ เพราะผู้สูงอายุไม่จำเป็นต้องเป็นอัลไซเมอร์ทุกคน โรคอัลไซเมอร์ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองค่อยๆ ลดลง ผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาเรื่องความจำ โดยเฉพาะความจำระยะสั้น รวมถึงความเฉลียวฉลาด การใช้เหตุผล ภาษา การคิด การตัดสินใจ อาจมีอาการทางจิตร่วมด้วย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน อาการหลงลืมแตกต่างจากโรคอัลไซเมอร์อย่างไร อาการหลงลืมตามวัย ได้แก่ หลงลืมเรื่องที่ไม่สำคัญ ไม่บ่อย และต้องไม่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน อาการหลงลืมตามวัยนี้จะสามารถช่วยให้ดีขึ้นได้ ถ้ามีความตั้งใจที่จะจดจำอย่างจริงจัง จดบันทึก เตือนตัวเองโดยวิธีการต่างๆ ฝึกตัวเองให้มีสติอยู่เสมอ จะช่วยลดอาการหลงลืมให้น้อยลงได้ และแม้ว่าโรคอัลไซเมอร์อาจเกิดจากสาเหตุทางพันธุกรรม แต่การทำกิจกรรมที่ส่งเสริมการทำงานของสมองบ่อย ๆ สามารถช่วยชะลอการเกิดโรคได้ การเล่นเกมที่ฝึกสมอง ช่วยเสริมสร้างศักยภาพทุกด้านของสมอง เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวมือ เท้า และประสาทสัมผัสทั้ง 5 ช่วยให้ใจสงบ […]
ภัยจากอากาศร้อน…ภาวะลมแดด และเพลียแดด
ในฤดูร้อนปีนี้ อากาศเมืองไทยร้อนมาก จนอาจทำให้เรามีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลมแดด และเพลียแดด โดยเฉพาะคนสูงอายุ ที่อยู่ภายใต้อากาศที่มีอุณหภูมิสูงเป็นเวลานาน ภาวะลมแดด หรือ heat stroke เป็นภาวะที่น่ากลัว หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม และรักษาได้ทันท่วงที อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ภาวะลมแดด และเพลียแดด มีต้นเหตุมาจาก การที่ร่างกายของคนเรามีอุณหภูมิสูงขึ้น จากการสัมผัสกับความร้อนสูงเป็นเวลานาน ทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายสูงถึง 40 องศาเซลเซียส โดยปกติร่างกายจะสร้างความร้อนอันเป็นผลมาจากการเผาผลาญภายในร่างกาย และร่างกายของคนเราสามารถควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติได้ โดยแพร่กระจายความร้อนส่วนเกินออกผ่านผิวหนัง หรือโดยการระเหยของเหงื่ออย่างไรก็ตาม ภายใต้อากาศร้อน ความชื้นสูง เมื่อมีการออกกำลังกายภายใต้ความร้อนสูง เช่น ภายใต้แดดที่ร้อนจัด จะทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นมาก ทำให้ร่างกายไม่สามารถกระจายความร้อนออกจากร่างกายได้เพียงพอ หรือได้ทัน เป็นเหตุให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น เมื่อร่วมกับภาวะขาดน้ำ ย่อมทำให้ร่างกายไม่สามารถมีเหงื่ออกได้เร็วพอที่จะกระจายความร้อนได้ทัน ยังผลให้อุณหภูมิสูงขึ้น อาการที่บ่งบอกว่าเป็นอาการเพลียแดดได้แก่ – ปวดศีรษะ มึนศีรษะคลื่นไส้ – อาเจียน อ่อนเพลียไม่มีแรง มีตะคริวและมีไข้ แต่ต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส อาการเพลียแดด เป็นสัญญาณเตือนว่าต้องรีบแก้ไข ก่อนที่จะเกิดลมแดดซึ่งมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ อาการลมแดดมีความรุนแรงกว่าเพลียแดด และต้องได้รับการแก้ไขอย่างฉุกเฉิน […]
พิชิตเบาหวานด้วยอาหารแลกเปลี่ยน
โรคเบาหวาน เป็นความผิดปกติที่ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้ จากการขาดอินซูลิน เป็นผลให้น้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ซึ่งค่าระดับน้ำตาลปกติ อยู่ที่น้อยกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในช่วง 100-125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน และถ้าระดับน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป ควรตรวจซ้ำและเมื่อได้รับการตรวจซ้ำยังพบว่าผิดปกติจะถือว่าเป็นโรคเบาหวาน แต่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้เป็นกปกติได้ ด้วยอาหารแลกเปลี่ยน ผู้ป่วยเบาหวาน ควรเลือกรับประทานอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งในหมู่เดียวกันเป็นการแลกเปลี่ยน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยใช้สูตร 2-1-1 โดยแบ่งจานสำหรับรับประทานอาหารออกเป็น 4 ส่วน 2 ส่วนแรกเป็นผักหลากสี อีก 1 ส่วนเป็นเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ อีก 1 ส่วนเป็น ข้าว/แป้ง สามารถเพิ่มนมจืดได้วันละ 1 กล่อง ผลไม้ไม่หวานจัด 1-2 ส่วนต่อวัน (ผลไม้ 1 ส่วน เท่ากับ 1 กำมือ) ไข่ 3 ฟองต่อสัปดาห์ น้ำมัน: น้ำตาล: เกลือ ใช้สูตร […]
สังคมกับความเปราะบางของผู้สูงอายุ
ในปี 2561 ที่ผ่านมา นับเป็นครั้งแรกที่สัดส่วนของผูสู้งอายุมีมากกว่าสัดส่วนประชากรวัยเด็กโดยไทยมีสัดส่วนผูสู้งอายุเกือบ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมดของประเทศ จำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้ามาเป็นสังคมสังคมสูงวัยที่กำลังจะกลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในอีก 3 ปีข้างหน้าอันเป็นผลมาจากการที่คนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น ในขณะที่จำนวนเด็กเกิดใหม่ลดลง ส่งผลให้ประชากรวัยแรงงานมีแนวโน้มลดลงไปด้วยโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไปนี้ย่อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เนื่องด้วยแบบแผนของสังคมไทยที่ครอบครัวนั้นมีส่วนสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ แต่ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ทำให้แบบแผนการอยู่อาศัยร่วมกันในครอบครัวของผู้สูงอายุเปลี่ยนแปลงไป โดยในงานวิจัยเรื่อง “การดูแลผู้สูงอายุในครัวเรือนซึ่งมีรูปแบบการอยู่อาศัยที่หลากหลายในสังคมไทย เพื่อประเมินความเข้มแข็งและความต้องการสนับสนุนของครัวเรือน” ได้ชี้ให้เห็นภาพการดูแลผูสู้งอายุในสังคมไทย ผ่านการศึกษารูปแบบการอยู่อาศัยของผูสู้งอายุไทยเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการใช้ชีวิตร่วมกันของสมาชิกในครัวเรือนผูสู้งอายุ และชี้ให้เห็นนัยยะของการดูแลผูสู้งอายุในครัวเรือนเปราะบาง รวมถึงความต้องการสนับสนุนของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุในครัวเรือนเปราะบาง ผู้สูงอายุสำหรับประเทศไทยนั้นหมายถึงบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัยที่มีความอ่อนแอ และ มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกชักจูง ครอบงำ และคุกคามจากปัจจัยเสี่ยงด้านต่าง ๆ เช่น สุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงได้ให้นิยาม “ความเปราะบาง” ด้านการดูแลผู้สูงอายุ กล่าวคือ ครัวเรือนที่ผู้สูงอายุต้องดูแลตนเอง ดูแลผู้สูงอายุด้วยกัน หรือต้องดูแลผู้อื่นที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน และต้องรับบทบาทในการดูแลตนเองหรือต้องดูแลคนอื่น โดยเราสามารถแบ่งรูปแบบการอยู่อาศัยของครัวเรือนผู้สูงอายุที่มีความเปราะบาง ออกเป็น 5 รูปแบบ ประกอบไปด้วย 1. ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่อาศัยตามลำพังคนเดียว 2. ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่กับคู่สมรส […]
การดูแลสุขภาพจิต ช่วงการระบาดของโควิด-19
ข้อมูลจาก “Mental health and psychosocial considerations during COVID-19 outbreak” โดยองค์การอนามัยโลก แนะนำว่า 1. ดูแลตนเองในช่วงเวลานี้ โดยพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารให้เพียงพอและถูกสุขอนามัยออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ติดต่อกับครอบครัวและเพื่อนฝูงอย่างต่อเนื่อง อาจลองทำงานอดิเรกใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน 2. ไม่ตีตราหรือเรียกผู้ป่วยที่เป็นโควิด-19 ด้วยถ้อยคำรุนแรง เช่น “ไอ้โควิด” “ครอบครัวโควิด” หรือ “ตัวเชื้อโรค” เพราะเขาเป็นเพียง “คนที่ป่วยด้วยโควิด” เท่านั้น ซึ่งหลังจากหายป่วยแล้วพวกเขาก็จะกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ 3. ลดการดู การอ่าน หรือการฟังข่าวที่ทำ ใหรู้สึ้กวิตกกังวลเกินไป ไม่หลงเชื่อข่าวลือ เลือกรับขอ้ มูล ข่าวสารจากแหล่งที่เชื่อถือไดเ้ท่านั้น เช่น องค์การอนามัยโลก กระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ 4. อัพเดทข้อมูลเกี่ยวกับโรคเพียง 1-2 ครั้งต่อวันเท่านั้น เพราะกระแสข่าวต่าง ๆ ที่หลั่งไหลมาเร็วตลอดเวลาสามารถทำให้ทุกคนรู้สึกกลัวกังวลได้ง่าย ๆ การอ่านข้อมูลจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้จะช่วยให้คุณแยกแยะข้อเท็จจริงจากข่าวลือ […]
การสำลักสิ่งแปลกปลอมในเด็ก
สิ่งของเครื่องใช้ภายในบ้านเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่พบว่าอาจเป็นอันตรายต่อเด็กเล็ก สิ่งของที่มีขนาดเล็ก โดยเฉพาะสิ่งที่มีขนาดเล็กมากกว่า 2 เซนติเมตร พบว่า เป็นสิ่งของที่มีขนาดที่พอดีที่จะทำให้เกิดการอุดตันของท่อทางเดินหายใจของเด็กซึ่งเมื่อเกิดการอุดตันจะทำให้อากาศไม่สามารถผ่านลงไปสู่ปอดได้ อันจะเป็นผลทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตตามมาได้นอกจากของเล่นชิ้นเล็กๆ เหรียญและของใช้ต่างๆ แล้ว อาหารและวิธีที่เด็กทานอาหารก็สำคัญเช่นกัน วิธีการรับประทานอาหารและชนิดของอาหารของเด็กนั้นสำคัญไม่น้อยไปกว่าของเล่นชิ้นเล็กๆ ที่จะทำให้เกิดการอุดตันของทางเดินหายใจโดยชิ้นส่วนของอาหารหรือลูกอมที่มีขนาดใหญ่เกินไปอาจไปอุดตันบริเวณคอทำให้เกิดการสำลักและหายใจลำบากได้ ดังนั้น ควรที่จะให้เด็กหลีกเลี่ยงการวิ่งไป-มาในระหว่างการรับประทานอาหารเพื่อป้องกันภาวะนี้ ผู้ปกครองควรที่จะระมัดระวังเกี่ยวกับขนาดของอาหารที่เด็กรับประทานร่วมด้วย โดยผักและผลไม้ควรมีขนาดน้อยกว่า 1 เซนติเมตร สำหรับการให้เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี รับประทาน และหากเด็กมีอาการสำลัก ควรรีบพบแพทย์โดยทันทีเพื่อตรวจหาสิ่งแปลกปลอมที่อาจอุดตันทางเดินหายใจอยู่ซึ่งในบางครั้งอาจต้องตรวจในห้องผ่าตัดเนื่องจากสิ่งแปลกปลอมบางชนิดนั้นไม่สามารถเห็นได้จากฟิล์มเอกซเรย์ สิ่งแปลกปลอมอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ปกครองควรระมัดระวังเป็นอย่างมากคือถ่านแบตเตอรี่ขนาดเล็ก ซึ่งพบได้ในนาฬิกาและในของเล่นต่างๆ เนื่องจากสารในแบตเตอรี่อาจทำ ลายเนื้อเยื่อของระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรงร่วมด้วยได้โดยแบตเตอรี่เมื่ออยู่ในสภาวะที่ชื้นจะหลั่งสารที่เป็นด่างออกมาซึ่งสารนี้จะทำ ให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นเกิดการฉีกขาดได้ ภาวะนี้ถือเป็นภาวะที่รุนแรงมากดังนั้นผู้ปกครองควรใส่ใจเป็นพิเศษเพื่อป้องกันภาวะนี้ไม่ให้เกิดขึ้น การป้องกันถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดภาวะ การสำ ลักสิ่งแปลกปลอมในเด็ก ดังนั้นจึงแนะนำให้เก็บสิ่งของที่มีขนาดเล็กในที่ที่เด็กไม่สามารถหยิบได้การจัดเก็บสิ่งของเล็กๆ ภายในบ้านให้อยู่ในที่ที่ปลอดภัยกับเด็กสามารถช่วยให้เด็กปลอดภัยจากภาวะ การสำ ลักสิ่งแปลกปลอมในเด็กได้ บทความโดย ผศ.นพ.เทพ เศรษฐบุตร ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย https://www.naewna.com/lady/columnist/43788 https://tmc.or.th/pdf/tmc_knowlege-39.pdf