โรคนิ้วล็อค หรือ Trigger finger เป็นภาวการณ์อักเสบบริเวณปลอกหุ้มเส้นเอ็น ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อย เนื่องจากมือเป็นอวัยวะสำ คัญที่เราใช้ในชีวิตประจำวันในการทำงาน ยกหรือหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ ผู้ป่วย อาจมีอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้ว รู้สึกสะดุด หรือล็อคขณะงอเหยียดนิ้ว ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนเป็นอาการของโรคนิ้วล็อคทั้งสิ้น
ทำไมถึงเป็นโรคนิ้วล็อค
โรคนิ้วล็อคเกิดจากการอักเสบบริเวณปลอกหุ้มเส้นเอ็น ซึ่งมักจะสัมพันธ์กับการใช้งานหนัก โดยเฉพาะการเหยียดและงอข้อนิ้วซ้ำ ๆ หรือการกำสิ่งของแน่น ๆ เป็นเวลานาน โดยโรคนี้มักพบในผู้หญิงมากกว่า ผู้ชาย พบมากที่สุดในผู้หญิงวัยกลางคน และมีโอกาสเป็นได้มากขึ้นในผู้ปวยที่เป็นเบาหวาน หรือโรคไต
โรคนิ้วล็อคมีอาการอย่างไร
อาการและอาการแสดงของโรคนิ้วล็อคมีหลายระดับ สามารถแบ่งตามความรุนแรงได้ดังนี้
1.มีอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้ว และอาจรู้สึกติดแข็งในตอนเช้า
2.รู้สึกสะดุด หรือมีเสียงเวลาขยับข้อ นิ้ว และอาจคลำได้ก้อนบริเวณโคนนิ้ว
3.นิ้วล็อคติดในท่างอ แต่ยังสามารถจับเหยียดนิ้วออกมาได้
4.นิ้วล็อคติดในท่างอ โดยที่ไม่สามารจับเหยียดออกมาได้
การวินิจฉัยโรคนิ้วล็อค
โรคนิ้วล็อคสามารถวินิจฉัยได้โดยใช้การซักประวัติ และการตรวจร่างกาย โดยแพทย์เฉพาะทางด้าน กระดูกและข้อ หรือแพทย์ทั่วไปที่มีความชำนาญ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการตรวจเอกซเรย์ หรือส่งตรวจพิเศษอื่น ๆ เพิ่มเติมหากแพทย์ไม่ได้สงสัยภาวะอื่น ๆ
การรักษาโรคนิ้วล็อค
การรักษาโรคนิ้วล็อคมีทั้งการรักษาแบบไม่ผ่าตัดและการรักษาโดยการผ่าตัด โดยขึ้นกับความรุนแรงของอาการที่เป็น
การรักษาแบบไม่ผ่าตัด
ในรายที่พึ่งเริ่มมีอาการมาไม่นาน หรืออาการไม่รุนแรง แพทย์มักจะแนะนำ ใหใช้การรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัดก่อน โดยมีข้อแนะนำ ดังนี้
• ให้พักใช้งานมือข้างที่มีอาการ และหลีกเลี่ยงการกำ และ เหยียดนิ้วมือซ้ำๆ อย่างน้อยสองสัปดาห์
• แนะนำ ให้แช่่น้ำอุ่น และ นวดบริเวณโคนนิ้ว โดยเฉพาะในตอนเช้า อย่างน้อย 5-10 นาทีต่อวัน
• การใส่อุปกรณ์ดามนิ้ว (Finger splint) ให้นิ้วอยู่ในท่าเหยียดตรง โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดในตอนเช้าได้
• หากผู้ป่วยไม่สามารถเหยียดนิ้วได้สุด ควรจะทำ การบริหารเหยียดนิ้วดังกล่าวบ่อย ๆ เพื่อป้องกันภาวะข้อติดในท่างอ
• การรับประทานยาแก้ปวด หรือยาลดการอักเสบที่ไม่มีสเตียรอยด์ (NSAIDs) เพื่อลดการอักเสบของ ปลอกหุ้มเส้นเอ็น อย่างไรก็ตามยาในกลุ่ม นี้มีผลข้างเคียง ควรปรึกษาแพทย์และได้รับคำ แนะนำ ก่อนใช้ยา
• ผู้ป่วยที่มีอาการเป็นมานาน หรือการรักษาโดยวิธีต่าง ๆ ข้างต้น ไม่ได้ผล แพทย์อาจจะพิจารณาการรักษาโดยฉีดยาสเตียรอยด์ (steroid injection) เข้าบริเวณปลอกหุ้มเอ็นบริเวณโคนนิ้ว เพื่อลดการอักเสบของปลอกหุ้ม เส้นเอ็น ซึ่งการฉีดยาควรทำ โดยแพทย์ผู้ชำนาญเท่านั้น โดยทั่วไปการฉีดยาจะให้ ผลการรักษาดี แต่อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยยังมีความจำเป็นต้องใชงานมือข้างที่มีอาการอยู่ ก็มีโอกาสที่จะกลับมามีอาการกำเริบซ้ำ ขึ้นอีกได้โดยอาจจะมีอาการกลับมาหลังฉีดยาประมาณ 3-6 เดือน และหากมีอาการกลับมาอีกครั้ง แพทย์อาจจะพิจารณาฉีดยาซ้ำ ได้อีก แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ควรที่จะฉีดยามากกว่า 2 ครั้งในนิ้วเดียวกัน
การรักษาโดยการผ่าตัด
ในรายที่อาการเป็นรุนแรง หรือกลับมามีอาการกำเริบหลายหลังจากการได้รับการรักษาโดยวิธีต่าง ๆโดยวิธีการข้างต้น แพทย์จะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อเปิดปลอกหุ้ม เส้นเอ็นที่มีการอักเสบออก โดยการผ่าตัดโรคนิ้วล็อคมีอยู่สองวิธีคือ
1. การผ่าตัดโดยมีแผลเปิด (Open release) โดยทั่วไปสามารทำได้โดยการฉีดยาชาเฉพาะที่ และ เปิดแผลขนาดเล็กประมาณ 1cm และใช้มีดกรีดเปิดปลอกหุ้มเส้นเอ็นออก หลังผ่าตัดผู้ป่วยสามารถกลับบ้าน ได้โดยแพทย์จะนัดมาตัดไหมที่ประมาณ 10-14 วันหลังการผ่าตัด
2. การผ่าตัดกรีดเปิดปลอกหุ้มเส้นเอ็นโดยไม่มีแผลเปิด (Percutaneous release) วิธีนี้จะต้องใช้เครื่องมือพิเศษเพื่อป้องกันการบาดเจ็บต่อเส้นเอ็น เส้นเลือดและเส้นประสาทของนิ้ว การผ่าตัดทำได้โดยใช้เข็ม หรือ ของมีคมเขี่ยปลอกหุ้ม เส้นเอ็น วิธีนี้มีข้อดีคือ แผลจะมีขนาดเล็กกว่าประมาณ 2mm ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วกว่า แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีค่าใช้จ่ายของอุปกรณ์มากขึ้น และมีโอกาสเกิดการบาดเจ็บของเส้นเลือด หรือ เส้นประสาทได้
ข้อควรปฏิบัติหลังการผ่าตัดโรคนิ้วล็อค
โดยทั่วไปหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจะสามารถกลับบ้านได้เลย ได้มรข้อควรปฏิบัติดังนี้
– ระวังไม่ให้แผลเปียกน้ำ หากแผลเปียกน้ำ ควรทำ แผลทันที
– ควรมาตรวจตามแพทย์นัดเพื่อตัดไหม ประมาณ 10-14 วันหลังการผ่าตัด
– เมื่อแผลแห้ง ดีแล้ว ควรจะต้องทำ การนวดแผลผ่าตัด เพื่อให้แผลเป็นนุ่ม และลดความเสี่ยงที่จะกลับมามีอาการซ้ำได้
– ควรปฏิบัติตัวตามข้อแนะนำ ของแพทย์อย่างเคร่งครัด หากแผลมีภาวะผิดปกติ เช่น แผลซึม หรือมีเลือดออก ควรกลับมาพบแพทย์ทันที
————————————————-
บทความโดย
นพ.ปิยบุตร กิตติธรรมวงศ์
ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย
————————————————-