อาจารย์นฤมล เหล่าโกสิน
อาจารย์ ดร.สารนิติ บุญประสพ
ผู้สูงอายุเป็นวัยที่เกิดปัญหาจากความร้อนได้ง่ายกว่าคนวัยอื่น เนื่องจากผิวหนังของผู้สูงอายุไม่สามารถคลายความร้อนเพื่อควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ได้ดี เพราะจานวนต่อมเหงื่อลดลงและเสียหน้าที่ รวมทั้งหลอดเลือดฝอยลดลง เมื่ออุณหภูมิภายนอกเพิ่มขึ้นจะไม่สามารถขับเหงื่อและระบายความร้อนออกได้ทัน อาจเกิดภาวะอุณหภูมิกายสูง (Hyperthermia) ส่งผลให้เป็นลมแดดและ Heatstroke ได้ง่าย
Heat stroke (โรคลมความร้อน) เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถลดอุณหภูมิกายลงได้ และเป็นผลให้เกิดมีภยันตรายต่อระบบอวัยวะในร่างกาย เป็นภาวะที่ต้องได้รับการบาบัดอย่างทันท่วงทีเนื่องจากอาจทาให้เสียชีวิตได้สูงมาก ผู้ป่วยที่เป็น heatstroke มักมาด้วยอาการสามอย่าง คือ มีไข้สูง (อุณหภูมิแกนสูงกว่า 40.5 องศาเซนเซียส) ระบบประสาทส่วนกลางทางานผิดปกติ และไร้เหงื่อ อาการอื่นๆ เช่น เพ้อ ชัก ไม่รู้สึกตัว ไตล้มเหลว หายใจเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ช็อค เป็นต้น
การช่วยเหลือเบื้องต้น
1. นาผู้สูงอายุเข้าในร่ม
2. จัดให้นอนราบ ยกเท้าสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด
3. ถอดเสื้อผ้า ใช้น้าเย็นประคบบริเวณ ใบหน้า ข้อพับ ขาหนีบ และใช้พัดลมเป่าเพื่อระบายความร้อน
4. ใช้น้าเย็นราดลงบนตัว เพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้เร็วที่สุด (ไม่ควรจุ่มหรือแช่ตัวในน้าผสมน้าแข็ง เพราะจะทาให้เกิดการหนาวสั่น เส้นเลือดหดตัวทาให้ความร้อนยิ่งเพิ่มขึ้น)
5. รีบนาผู้สูงอายุส่งโรงพยาบาล
การป้องกัน
1. ดื่มน้าให้เพียงพอ อย่างน้อย 2 ลิตร/วัน (ถ้าหากไม่มีข้อห้าม เช่น โรคไตวาย โรคหัวใจ เป็นต้น)
2. หลีกเลี่ยงอากาศร้อน ถ่ายเทไม่สะดวก หากร้อนมากควรพยายามลดความร้อน โดยอาบน้า เปิดแอร์ เปิดพัดลม
3. สวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบายและบาง
4. หากต้องอยู่กลางแจ้ง ควรสวมหมวกป้องกัน หรือใช้ร่ม สวมแว่นกันแดด ทาครีมกันแดด (ไม่ควรทาหนาจนเกินไป) ใส่เสื้อแขนยาวสีอ่อน (หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเข้มเพราะจะดูดความร้อน) เนื้อผ้าควรระบายความร้อนได้ดี
5. ไม่ควรอยู่ในรถที่จอดกลางแดด เพราะอุณหภูมิในรถสามารถขึ้นไปได้อย่างรวดเร็วถึง 50 องศาเซลเซียส ในเวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมง
6. เตรียมตัวออกกาลังกายกลางแจ้งล่วงหน้า เพื่อให้ร่างกายชินกับสภาพอากาศร้อน ควรมีการอบอุ่นร่างกายก่อนและหลังออกกาลังกาย
7. ควรออกกาลังกายตอนเช้าหรือตอนเย็น หลีกเลี่ยงช่วงที่ร้อนสุดคือตอนกลางวัน
8. ไม่ควรออกกาลังกายหักโหม หากรู้สึกเหนื่อยมากควรรีบพักทันที
9. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หรือยาบางชนิดที่เพิ่มความร้อนให้ร่างกาย
ปัจจุบันประเทศไทยมีสภาพอากาศที่ร้อนมากขึ้น ในบางช่วงอุณหภูมิสูงสุดถึง 42 องศาเซลเซียส ซึ่งจะทาให้เกิด Heat stroke ได้ง่ายโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ดังนั้นควรป้องกันไม่ให้เกิดภาวะดังกล่าว เพราะอาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
อ้างอิง
ประเสริฐ อัสสันตชัย. (2558). ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:
ยูเนี่ยน ครีเอชั่น.
สานักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. (2555). รายงานสถานการณ์โรคและภัย
สุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี 2555. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวง
สาธารณสุข
ภาวะฉุกเฉินจากความร้อน สืบค้นจาก
Heatstrokehttps://med.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/bulletin/bul98/v6n2/Heatstroke