สังคมกับความเปราะบางของผู้สูงอายุ

ในปี 2561 ที่ผ่านมา นับเป็นครั้งแรกที่สัดส่วนของผูสู้งอายุมีมากกว่าสัดส่วนประชากรวัยเด็กโดยไทยมีสัดส่วนผูสู้งอายุเกือบ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมดของประเทศ จำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้ามาเป็นสังคมสังคมสูงวัยที่กำลังจะกลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในอีก 3 ปีข้างหน้าอันเป็นผลมาจากการที่คนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น ในขณะที่จำนวนเด็กเกิดใหม่ลดลง ส่งผลให้ประชากรวัยแรงงานมีแนวโน้มลดลงไปด้วยโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไปนี้ย่อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เนื่องด้วยแบบแผนของสังคมไทยที่ครอบครัวนั้นมีส่วนสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ แต่ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ทำให้แบบแผนการอยู่อาศัยร่วมกันในครอบครัวของผู้สูงอายุเปลี่ยนแปลงไป โดยในงานวิจัยเรื่อง “การดูแลผู้สูงอายุในครัวเรือนซึ่งมีรูปแบบการอยู่อาศัยที่หลากหลายในสังคมไทย เพื่อประเมินความเข้มแข็งและความต้องการสนับสนุนของครัวเรือน” ได้ชี้ให้เห็นภาพการดูแลผูสู้งอายุในสังคมไทย ผ่านการศึกษารูปแบบการอยู่อาศัยของผูสู้งอายุไทยเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการใช้ชีวิตร่วมกันของสมาชิกในครัวเรือนผูสู้งอายุ

และชี้ให้เห็นนัยยะของการดูแลผูสู้งอายุในครัวเรือนเปราะบาง รวมถึงความต้องการสนับสนุนของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุในครัวเรือนเปราะบาง ผู้สูงอายุสำหรับประเทศไทยนั้นหมายถึงบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัยที่มีความอ่อนแอ และ มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกชักจูง ครอบงำ และคุกคามจากปัจจัยเสี่ยงด้านต่าง ๆ เช่น
สุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงได้ให้นิยาม “ความเปราะบาง” ด้านการดูแลผู้สูงอายุ กล่าวคือ ครัวเรือนที่ผู้สูงอายุต้องดูแลตนเอง ดูแลผู้สูงอายุด้วยกัน หรือต้องดูแลผู้อื่นที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน และต้องรับบทบาทในการดูแลตนเองหรือต้องดูแลคนอื่น โดยเราสามารถแบ่งรูปแบบการอยู่อาศัยของครัวเรือนผู้สูงอายุที่มีความเปราะบาง ออกเป็น 5 รูปแบบ ประกอบไปด้วย

1. ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่อาศัยตามลำพังคนเดียว
2. ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่กับคู่สมรส
3. ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่กับพ่อแม่ และ คู่สมรส
4. ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนข้ามรุ่น
5. ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่กับคนอื่น ๆ ซึ่งไม่ใช่ญาติ

แต่ปัจจัยที่ทำให้ครัวเรือนผู้สูงอายุเกิดความเปราะบางนั้นไม่ได้มาจากรูปแบบการอย่อาศัย หากเป็นผลมาจากปัจจัยภายนอก ได้แก่ การมีภาวะเจ็บป่วย ความยากจน ความพิการ สิ่งแวดล้อม การคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ในครัวเรือน การที่ลูกหรือคนในครอบครัวใส่ใจ ดูแลผู้สูงอายุได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งจากงานวิจัยนี้พบว่ากว่า 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุทั้งหมด (ร้อยละ 38) อาศัยอยู่ครัวเรือนเปราะบาง โดยประมาณครึ่งหนึ่งของผู้สูงอายุในครัวเรือนเปราะบาง (ร้อยละ 50) อาศัยอยู่กับคู่สมรสมากที่สุด รองลงมาคือ อาศัยอยู่ในนครัวเรือนข้ามรุ่น (ร้อยละ 26) และอาศัยอยู่ตามลำพัง (ร้อยละ 23) อาการของภาวะเปราะบาง 5 อย่าง ได้แก่

1.กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscle Weakness)
ความอ่อนแรงของกล้ามเนื้อเป็นลักษณะเฉพาะของภาวะเปราะบางที่พบมากที่สุด เป็นสิ่งที่บ่งชี้การเริ่มต้น ของภาวะนี้ ซึ่งสามารถประเมินได้จากการวัดแรงบีบของมือ ผู้สูงอายุที่ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง มักยืนเองไม่ค่อยได้ หรือ ไม่มีแรงหยิบจับของ

2.กิจกรรมทางกายต่ำ (Low physical activity)
เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการหดตัวของกล้ามเนื้อลายกระดูกและข้อโดยไม่ทำให้เกิดการเผาผลาญพลังงาน หรือ ใช้พลังงานเพิ่มจากภาวะปกติ สามารถประเมินได้จากความถี่ และ ระยะเวลาของกิจกรรมที่ทำให้บุคคล เริ่มมีเหงื่อหรือหายใจเร็วขึ้น ผู้สูงอายุที่มีภาวะกิจกรรมทางกายต่ำ จะทำให้สมรรถภาพในการทำกิจกรรมต่างๆ ลดลง

3.เดินช้าลง (Slowness walking)
วัดจากความเร็วของการเดินช้าลงร้อยละ 20 จากผู้สูงอายุปกติ ซึ่งผู้สูงอายุที่มีภาวะนี้จะใช้เวลาเดินที่มากขึ้นในระยะทางเท่าเดิม

4.ความเหนื่อยล้า (Poor endurance)
เป็นกลุ่มอาการที่จะมีความเหนื่อยล้าทางอารมณ์และความคิด รู้สึกว่าคุณค่าในตัวเองลดลงขาดความกระตือรือร้น และ ความเชื่อมั่นในตัวเอง ผู้สูงอายุที่ประสบภาวะนี้จะรู้สึกเหนื่อยง่าย โดยที่ยังไม่ได้ทำอะไร

5.น้ำ หนักตัวลดลงโดยที่ไม่ไดตั้้งใจลด (Unintentional weight loss)
ผู้สูงอายุที่มีภาวะนี้จะมีน้ำหนักตัวลดลงมากกว่า 4.5 กิโลกรัม หรือ มากกว่าร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัวในระยะเวลา 1 ปี

วิธีการป้องกัน
1. กระตุ้นให้ร่างกายเคลื่อนไหว: ด้วยการออกกำลังกายเบา ๆ อย่างสม่ำเสมอ
2. จัดโภชนาการที่ดี : รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผักและผลไม้รวมถึงน้ำ สะอาดวันละ 8-10 แก้ว
3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ: ผู้สูงวัยควรนอนหลับให้ได้วันละ 7-8 ชั่วโมง ควรเข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลาเพื่อสุขภาวะที่ดี
4. จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับผูสู้งอายุ : สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผูสู้งอายุ ด้วยการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในที่อยู่อาศัย เพื่อความปลอดภัยและเอื้อต่อการมีสุขภาพดี
5. ดูแลทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ: สังเกตสุขภาพของผู้สูงอายุอยู่เสมอ หากมีโรคประจำตัวต้องทานยาตามแพทย์สั่ง และ พบแพทย์ตามนัด เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันก็หมั่นชวนผู้สูงอายุคุยเล่น หรือทำกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว เพื่อการมีสุขภาพจิตที่ดี
6. เข้ารับวีคซีนที่ควรฉีดในผู้สูงอายุ : ผู้สูงอายุควรเข้ารับการฉีดวัคซีน เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะเสื่อมสมรรถภาพเมื่ออายุมากขึ้น การฉีดวัคซีนจึงถือเป็นการป้องกัน และลดความรุนแรงของการเกิดโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งวัคซีนที่ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยแนะนำให้ฉีด มีดังนี้
6.1.วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักและคอตีบ
6.2.วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อตาย
6.3.วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี
6.4.วัคซีนวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดโพลีแซคคาไรด์และชนิดคอลจูเกต

 

นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้เข้าไปศึกษาการได้รับการดูแลของผู้สูงอายุตามรูปแบบการอยู่อาศัยใน 4 ด้าน ประกอบไปด้วย ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม โดยพบว่าการได้รับการดูแลในด้านร่างกายของผู้สูงอายุแต่ละรูปแบบการอยู่อาศัยมีความแตกต่างกันตามบริบทของการอยู่อาศัย ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกันกับลูก จะได้รับการดูแล และ การสนับสนุนโดยตรง ทั้งในด้านการหาอาหารและการพาไปหาหมอ ในขณะที่ผูสู้งอายุที่มีลูกอยู่ห่างไกลจะได้รับการดูแลเป็นตัวเงินที่ส่งมา รวมถึงผ่านทางการไหว้วานเพื่อนบ้านให้ไปรับส่ง และ ช่วยค่าน้ำ มันเป็นสินน้ำใจ

ด้านจิตใจนั้นพบว่า ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังคนเดียวจะต้องการดูแลในด้านจิตใจมากที่สุด มีความต้องการให้เพื่อนบ้าน หรือ คนในชุมชนมาเยี่ยมเยียน พบปะพูดคุยโดยปัญหาหนึ่งที่ผู้สูงอายุในครัวเรือนเปราะบางกังวลใจมากคือ “ปัญหาการกลัวตายตามลำพังคนเดียว” ในขณะที่ผู้สูงอายุที่อาศัยในรูปแบบอื่นๆ จะได้รับการดูแลในด้านจิตใจมากกว่า เพราะมีคนในครอบครัวอยู่ด้วยจึงไม่รูสึ้กเหงา และ ได้รับความเอาใจใส่ในเรื่องการดูแล

ด้านนเศรษฐกิจนั้น ผู้สูงอายุในทุกรูปแบบการอยู่อาศัยจะมีรายได้หลักมาจากเงินที่ลูกหลานส่งกลับมาให้ในกรณีที่ลูกหลานมีรายได้มากพอ และ ได้รับเบี้ยยังชีพ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่กับหลานจะมีความเปราะบางทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุด เนื่องจากรายได้หลักที่คาดหวังว่าจะได้รับจากบุตรที่ย้ายถิ่นไปทำงานนั้นไม่เพียงพอ หรือบางครั้งก็ไม่ได้รับเงินส่งกลับมาเลย ดังนั้นผู้สู้งอายุกลุ่ม นี้จึงมีความต้องการให้มีการส่งเสริมอาชีพสำหรับผูสู้งอายุในบ้าน นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ผูสู้งอายุส่วนใหญ่ในช่วงอายุ 60-74 ปี ยังคงต้องทำงานเพื่อหารายได้มาใช้จ่าย โดยเฉพาะผูสู้งอายุที่อาศัย อยู่ตาามลำพังคนเดียว

ในด้านสุดท้ายคือ ด้านสังคม พบว่าผู้สูงอายุในเขตเมืองและเขตชนบทบางแห่งที่ชุมชนเข้มแข็ง มีการรวมกล่มผู้สูงอายุในลักษณะต่าง ๆ เช่น ชมรมผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุ กลุ่มออมทรัพย์ และการมีรถรับ-ส่งในการเดินทางไปสถานพยาบาล ฯลฯ ทำให้ผูสู้งอายุมีเครือข่ายทางสังคมที่ดี ซึ่งส่งผลต่ออารมณ์และสภาพจิตใจของผู้สูงอายุอีกด้วย โดยการที่ชุมชนมีผู้นำที่ดี ตระหนักและให้ความสำคัญในเรื่องนี้ ย่อมส่งผลให้ผู้สูงอายุในพื้นที่ดังกล่าวได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง

นอกจากนี้ในการศึกษาดังกล่าวยังพบว่า รูปแบบการอยู่าศัยของผู้สูงอายุได้มีการเปลี่ยนแปลงและมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยพบว่าประเทศไทยเริ่มมีรูปแบบการอยู่อาศัยที่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่กับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ญาติบ้างแล้ว เช่น มีการอยอู่าศัยร่วมกับผูดู้แล การอยู่อาศัยร่วมกับเพื่อน และการอยู่อาศัยร่วมกับสัตว์เลี้ยง ฯลฯ

ความต้องการการดูแลและแนวทางรับมือของผู้สูงอายุ จากการศึกษาในเรื่องการได้รับการดูแลในด้านต่าง ๆ ของผู้สูงอายุในครัวเรือนเปราะบางนั้น สะท้อนเห็นว่า “เพื่อนบ้าน” ที่อาศัยใกลักับบ้านผู้สูงอายุ เป็นเสมือน “จิ๊กซอว์” สำคัญ ที่ช่วยเติมเต็มการดูแลในด้านต่างๆ ของผู้สูงอายุ ทั้งในเรื่องของการแบ่งปันสิ่งของ อาหาร การแวะเวียนทักทาย รวมถึงการชักชวนไปเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมต่างๆ เพื่อเป็นการเติมเต็มใหผู้สู้งอายุมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง นอกจากนี้ผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่คนเดียว โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่กับหลานที่มีความเปราะบางด้านเศรษฐกิจมากที่สุดนั้น มีความต้องการอยากให้มีการส่งเสริมอาชีพ สำหรับผูสู้งอายุ เช่น การฝึกอาชีพในชมรมผูสู้งอายุ หรือ โรงเรียนผู้สูงอายุ โดยมองว่าอยากให้เป็นอาชีพที่ทำ ได้โดยอยู่ที่บ้านไม่ต้องออกไปทำงานข้างนอก ดังนั้นแนวทางที่ภาครัฐจำเป็นต้องพิจารณา คือ การส่งเสริมให้มี “ระบบเพื่อนบ้านที่ดี” รวมถึงการจัดให้มีองค์กรส่งเสริมและดูแลผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ เช่น การจัดอาสาสมัคร การจัดกิจกรรมในชุมชน ให้มากขึ้น ส่งเสริมความเข้มแข็งในสถาบันครอบครัว และการสร้างผู้นำที่เข้มแข็งและเห็นความสำคัญในด้านนี้ ส่วนการดูแลด้านเศรษฐกิจ หน่วยงานวิสาหกิจชุมชนควรส่งเสริมอาชีพใหผู้สู้งอายุมีรายไดที่บ้านหรือในชุมชน

อ้างอิงข้อมูลจาก

วารสารสภาการพยาบาล ปีที่ 33 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2561, Pobpad.com
โครงการวิจัย “การดูแลผู้สูงอายุในครัวเรือนซึ่งมีรูปแบบการอยู่อาศัยที่หลากหลายในสังคมไทย เพื่อประเมินความเข้มแข็งและความต้องการสนับสนุนของครัวเรือน”
หัวหน้าโครงการ : ศุทธิดา ชวนวัน
สนับสนุนโดย : สำ นักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

 

Facebook
Twitter