ภาวะน้ำ คร่ำ อุดกั้นปอด (Amniotic Fluid Embolism)

ภาวะน้ำ คร่ำ อุดกั้นปอด ภัยเงียบของหญิงตั้งครรภ์ ภาวะน้ำ คร่ำ อุดกั้นปอด เป็นภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์ที่ไม่มีผู้ใดอยากให้เกิดขึ้น เนื่องจากเป็นภาวะที่อันตราย และ อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ในปี พ.ศ. 2484 ได้มีการรายงานโรคนี้เป็นครั้งแรกหลังจากพบส่วนเยื่อบุผิวของทารกอยู่ในเส้นเลือดปอดของมารดาที่เสียชีวิตอย่างกะทันหันในขณะคลอด จากรายงานของต่างประเทศพบว่า ภาวะน้ำ คร่ำ อุดกั้นปอดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในหญิงตั้งครรภ์เป็นอันดับหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนในประเทศที่กำลังพัฒนานั้นพบว่าเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ประมาณร้อยละ 10

 

ภาวะน้ำ คร่ำ อุดกั้นปอดพบได้น้อย ประมาณ 2 ถึง 8 ของการคลอด 100,000 ครั้ง ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละสถาบันเนื่องจากเกณฑ์การวินิจฉัยยังมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง

กลไกการเกิดของภาวะนี้เกิดจากส่วนประกอบของเด็กในน้ำ คร่ำ เข้าสู่กระแสเลือดของมารดา ผ่านทางเส้นเลือดดำ บริเวณปากมดลูก หรือบริเวณที่มีการบาดเจ็บของมดลูก น้ำ คร่ำ และเศษเนื้อเยื่อของทารกซึ่ง ถือได้ว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมปะปนอยู่ในกระแสเลือดของมารดา จะไปกระตุ้น ระบบภูมิคุ้มกันของมารดาให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อน้ำคร่ำ และ เศษเนื้อเยื่อของทารก เป็นเหตุให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงและเฉียบพลัน ซึ่งจัดว่าเป็นภาวะที่อันตรายอย่างมาก

ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะนี้ ประกอบด้วย อายุของมารดา การตั้งครรภ์มากกว่า 5 ครั้ง การคลอดเร็ว การชักนำ การคลอดด้วยยา การใช้เครื่องมือช่วยคลอด การผ่าตัดคลอดบุตร ภาวะรกเกาะต่ำ ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะชักจากครรภ์เป็นพิษ และภาวะทารกเครียดในครรภ์ ปัจจัยข้างต้นอาจไม่ใช่สาเหตุโดยตรง แต่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะน้ำ คร่ำ อุดกั้นปอด และไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ จะเกิดขึ้นเมื่อใด อีกทั้งยังไม่สามารถป้องกันได้อาการของน้ำ คร่ำ อุดกั้นที่ปอดจะเกิดระหว่างเจ็บครรภ์ การคลอด หรือหลังการคลอดไม่นาน อาการจะเกิดอย่างรวดเร็วและรุนแรง จากความดันต่ำ เฉียบพลันหรือหัวใจหยุดเต้น มีการขาดออกซิเจนในเลือด เฉียบพลันโดยผู้ป่วยจะมีอาการหายใจหอบ เขียว ระบบหายใจล้มเหลว หยุดหายใจอย่างรวดเร็วและเลือดไม่แข็งตัวอย่างรุนแรง ซึ่งการรักษาไม่มีการรักษาที่จำเพาะเจาะจง แต่เป้าหมายของการรักษาคือการแก้ไขภาวะขาดออกซิเจนและความดันต่ำ เพื่อป้องกันภาวะขาดเลือดเลี้ยงอวัยวะสำคัญของมารดา และ มีออกซิเจนเพียงพอสู่ทารกในครรภ์ โดยอาจต้องใส่ท่อช่วยหายใจร่วมกับใช้ครื่องช่วยหายใจ ยากระตุ้น หัวใจ ให้เลือดและองค์ประกอบของเลือด เมื่อเกิดภาวะน้ำ คร่ำ อุดกั้นปอดขึ้นแล้วจะพบอัตราการเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 20 ถึง 90 ขึ้นอยู่กับความพร้อมของสถานพยาบาลแต่ละแห่ง และหากมารดารอดชีวิตก็จะพบว่ามีการบาดเจ็บทางระบบประสาทอย่างรุนแรงได้มากถึงร้อยละ 85 ส่วนผลลัพธ์ของทารกในครรภ์นั้นยังมีอัตราการเสียชีวิตถึงร้อยละ 20 ถึง 60 ในส่วนของทารกที่รอดชีวิตจะมีระบบประสาทปกติเพียงร้อยละ 50 เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาวน้ำ คร่ำ อุดกั้นปอดจะเป็นภาวะที่ฉุกเฉิน อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ไม่สามารถทำนายได้ลวงหน้าว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ อีกทั้งยังไม่สามารถป้องกันได้แต่ก็พบได้พียงส่วนน้อยของหญิงตั้งครรภ์เท่านั้น

บทความโดย
พญ.รัชดาพร ฤกษ์ยินดี
อาจารย์ประจำ ภาควิชาสูตินรีเวชศาสตร์
โรงพยาบาลราชวิถี

Facebook
Twitter