หลายๆ ท่านอาจจะเริ่มสงสัยว่าแล้ว เราจะหลีกเลี่ยงโรคนี้ได้อย่างไร ซึ่งจากข้อมูลสถิติขององค์การอนามัยโลกพบว่า จริง ๆ แล้วปัจจัยที่ส่งเสริมหรือป้องกันโรคหลอดเลือดสมองนั้น ก็คือพฤติกรรมการกินอยู่ การใช้ชีวิต 5 ประการ ที่เราสามารถควบคุมได้ทั้งสิ้น ปัจจัย 5 ประการที่ควรลด ละ เลิก เพื่อห่างไกล โรคหลอดเลือดสมองได้แก่
1.เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตั้งใจทำ เพื่อคนที่เรารัก ตั้งเป้าหมายชัดเจนและสามารถเริ่มได้ทันที หากต้องการคำ ปรึกษา ระหว่างกระบวนการเลิก โทร.1413 สายด่วนเลิกสุรา
2.เลิกบุหรี่ ไม่ว่าจะสูบเอง หรือ การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีควันบุหรี่ก็ตาม อาศัยความตั้งใจและเป้าหมายที่ชัดเจน เช่นเดียวกันกับสุรา และควรหากิจกรรมเบี่ยงเบนความสนใจเพื่อไม่ให้กลับไปสูบอีก หากต้องการคำปรึกษา โทร.หาสายด่วนเลิกบุหรี่ 1600
3.เลิกคิดลบ เลิกนอนดึก เลิกเครียด เพราะความคิดและมุมมองก่อให้เกิดอารมณ์ที่ทั้งเป็นบวกหรือเป็นลบได้อารมณ์ที่เป็นลบต่าง ๆ ทั้งเศร้า วิตกกังวล โกรธ ส่งผลต่อระบบการทำงานของอวัยวะสำคัญๆทั้งสิ้น เช่น เมื่อมีอารมณ์โกรธบ่อย ๆ นาน ๆ ทำให้ความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะ เสี่ยงเส้นเลือดสมองแตก ได้อารมณ์วิตกกังวลนาน ๆ ทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหาร เป็นต้น
4.เลิกรับประทานอาหารรสจัด (หวาน มัน เค็ม) อาหารขยะ อาหารแปรรูป เพราะอาหารกลุ่ม ดังกล่าว ทำให้ร่างกายต้องรับภาระมาก เช่น เค็มมาก ทำให้ไตทำงานหนัก ความดันโลหิตสูงนำ ไปสู่หลอดเลือด สมองเสื่อมเร็ว หวานๆ มันๆ พลังงานสูงเกินไปเก็บเป็นไขมันในช่องท้อง ตามกระแสเลือด ทำให้หลอดเลือดอักเสบ เสื่อมแข็งก่อนเวลาอันควร เป็นต้น อาหารกลุ่มที่เป็นประโยชน์และควรรับประทานทุกมื้อ ได้แก่ ผัก ผลไม้สด
5.เลิกใช้ชีวิตนั่งๆ นอนๆ ติดหน้าจอ หันมาขยับเนื้อขยับตัว ออกกำลังเพียง 150 นาทีต่อสัปดาห์ (เดินเร็ว วันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วันเป็นต้น) ก็ให้ประโยชน์สุขภาพ เผาไขมันส่วนเกินลดอ้วนลงพุง ทั้งนี้การออกกำลังกายมีหลากหลายประเภท และ มีข้อควรระวัง สำหรับบุคคลต่าง ๆ กัน โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูเพื่อออกแบบโปรแกรมใหมี้ความปลอดภัยและตรงวัตถุประสงค์ หากเราตั้งใจปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ลด ละ เลิก ปัจจัย 5 ประการดังกล่าว ไม่เพียงแต่จะห่างไกลอัมพฤกษ์อัมพาตเพียงอย่างเดียวแต่รวมไปถึงอีกหลายๆ โรคในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั้งหมดที่เรียกย่อๆ กันว่า NCD (Non-communicable diseases) เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง อ้วนลงพุง เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตั้งแต่ตอนที่ยังไม่มีอาการย่อมคุ้มค่า และ เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อที่จะไม่ต้องเสียใจในภายหลัง
บทความโดย
ผศ.พญ. มนธนา บุญตระกูลพูนทวี
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
ราชวิทยาลัยเวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย