การใช้ยาอย่างปลอดภัยในผู้สูงอายุ

อ.ดร.สุภลักษณ์ ธานีรัตน์
อ.พัชรินทร์ วรรณโพธิ์

ประเทศไทศเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ในปี พ.ศ.2560 โดยมีการคาดการณ์ว่าใน พ.ศ. 2563 จะมีจานวนผู้สูงอายุถึง 11 ล้านคน1 จากการศึกษาภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน พบว่ามีความเสื่อมของสภาพร่างกายในหลายๆด้าน ได้แก่ การสูญเสียความจา (ร้อยละ 63) การมองเห็นไม่ชัดเจนหรือตามัว (ร้อยละ 52.9) ความผิดปกติของการเคลื่อนไหว (ร้อยละ 22.1) และการได้ยินไม่ชัดเจน (ร้อยละ 16.2) อีกทั้งมักมีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และหัวใจ2 ผู้สูงอายุจึงมีความจาเป็นต้องได้รับยาหลายชนิด ซึ่งมีโอกาสที่ผู้สูงอายุจะได้รับยาเกินความจาเป็น
จากสภาพการณ์ดังกล่าว อาจส่งผลให้ผู้สูงอายุรับประทานยาเกินขนาด ลืมรับประทานยา และบางคนรับประทานยาสมุนไพรที่ไม่มีเอกสารกากับยา เสี่ยงต่อการได้รับสารเสตียรอยด์ รวมทั้งอาจเกิดกลุ่มอาการผู้สูงอายุ (Geriatric syndrome) เช่น ความจาบกพร่อง (Cognitive impairment) ภาวะสับสนเฉียบพลัน (Delirium) กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ (Urinary and fecal incontinence) การพลัดตกหกล้ม (Fall) และภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) จากการใช้ยารวมกันหลายขนาน ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง3
ดังนั้นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีความรู้และความเข้าเกี่ยวกับ วิธีการใช้ยาอย่างปลอดภัย จึงมีความสาคัญเป็นอย่างมาก เป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนและผลกระทบที่อาจเกิดจากการใช้ยาหลายขนาน และเพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีต่อไป

วิธีการใช้ยาอย่างปลอดภัย
1. รับประทานยาให้ตรงเวลา
1.1 ยาก่อนอาหาร ควรรับประทานยาก่อนรับประทานอาหารประมาณ 15-30 นาที
1.2 ยาหลังอาหาร ควรรับประทานยาหลังอาหารประมาณ 15-30 นาที หรือรับประทานหลังอาหารทันที (หากมีระบุ) เช่น ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ4
1.3 หากลืมรับประทานยา ควรปรึกษาผู้รู้หรือเภสัชกรก่อนว่าต้องปฏิบัติอย่างไร เนื่องจากยาบางชนิดให้รับประทานทันทีที่นึกได้ แต่ยาบางชนิดอาจต้องรอรับประทานมื้อถัดไป และเพื่อป้องกันการลืมรับประทานยา ในกรณีที่ผู้สูงอายุไม่มีผู้ดูแลคอยจัดยาให้ ควรมีตัวช่วยในการรับประทานยาให้ถูกต้องมากขึ้น ดังนี้
1.3.1 ใช้กล่องใส่ยา ที่ระบุวันของสัปดาห์ และจัดยาแยกเป็นมื้อๆ ใส่ลงในกล่อง เหมาะสาหรับผู้สูงอายุที่มีการรับประทานยาหลายชนิด และหลายมื้อ
1.3.2 ใช้นาฬิกาปลุก สามารถเลือกใช้นาฬิกาข้อมือหรือโทรศัพท์มือถือตั้งเวลาปลุกเตือนเมื่อถึงเวลารับประทานยา

2. รับประทานยาให้ถูกวิธี
2.1 รับประทานยาตามขนาดที่แพทย์กาหนด หากผลการรักษาอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ก็ไม่ควรปรับขนาดยาเอง เพราะการปรับเพิ่มขนาดยาเองอาจทาให้เสี่ยงต่อการเกิดอาการข้างเคียงจากยา ส่วนการปรับลดขนาดยาเองอาจลดประสิทธิภาพของยาจนทาให้การรักษาไม่ได้ผล ดังนั้นให้ปรึกษาแพทย์เพื่อปรับขนาดยาที่เหมาะสมให้เท่านั้น ห้ามปรับขนาดยาเอง
2.2 ยาบรรจุแผง แนะนาให้ตัดแผงยาตามเม็ดและเอาเม็ดยาออกจากแผงเมื่อจะรับประทานเท่านั้น เนื่องจากยาบางชนิดอาจไวต่อแสงหรือความชื้นทาให้เสื่อมสภาพได้ง่าย

3. เก็บรักษายาให้ถูกต้อง
3.1 การเก็บรักษายาทั่วไป ได้แก่ ยาเม็ด ยาแคปซูล ยาปฏิชีวนะ ยาหยอดตา ยาน้า ครีมบางชนิดควรเก็บในอุณหภูมิห้อง (อุณหภูมิ 20-25 องศาเซลเซียส) ห้องที่ไม่มีแสงแดดส่องถึง
3.1.1 ยาที่บรรจุในขวดหรือซองสีชา เช่น ยาโรคหัวใจ จะเป็นยาที่มีการเสื่อมสภาพ
เมื่อสัมผัสแสง จึงควรเก็บให้พ้นแสงหรือเก็บไว้ในขวดหรือซองที่มีสีชา และไม่ควรแกะออกจากแผงยา
3.2 ยาที่เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา (อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส) ได้แก่ อินซูลิน ยาหยอดตาคลอแรมเฟนิคอล ยาเหน็บทวารหนัก สาหรับอินซูลิน ยาจะเสื่อมสภาพเมื่ออยู่ในที่มีอากาศร้อน จึงต้องเก็บในตู้เย็นทั้งก่อนและหลังใช้ยา โดยมีรายละเอียดดังนี้5
3.2.1 ไม่วางอินซูลินไว้บริเวณชั้นของประตูตู้เย็น และไม่วางยาในช่องแช่แข็ง และช่องแช่ผัก เพราะไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ได้
3.2.2 หากต้องเดินทางโดยเครื่องบินให้ใส่ยาไว้ในกระเป๋าถือ ห้ามนาไปไว้ในกระเป๋าสัมภาระโหลดลงใต้เครื่อง
3.2.3 กรณีจอดรถยนต์ห้ามวางไว้ในรถ ให้นาติดตัวเมื่อลงจากรถ และไม่ควรวางไว้ในกระเป๋าเสื้อเพราะอุณหภูมิของร่างกายจะทาให้ยาเสื่อมสภาพได้

4. สังเกตลักษณะหรือสภาพของยา
ก่อนการใช้ยาทุกครั้งต้องสังเกตลักษณะหรือสภาพของยา เช่น ยามีการเปลี่ยนสีที่แตกต่างไปจากเดิม มีการแตกหัก หรือชื้นแฉะของเม็ดยา ยาตกตะกอน หรือมีการแบ่งชั้นของยา เป็นต้น ซึ่งเป็นลักษณะบ่งบอกว่ายานั้นเสื่อมคุณภาพ ไม่ควรรับประทานให้นายามาปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน

5. สังเกตอาการผิดปกติขณะใช้ยา
อาการผิดปกติที่อาจพบได้ เช่น มีอาการหน้ามืดเวลาเปลี่ยนท่าหลังรับประทานยาลดความดันโลหิต จากการศึกษาพฤติกรรมการรับประทานยาในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง พบว่าผู้ป่วยไม่ได้หยุดพักกิจกรรม หลังจากรับประทานยาลดความดันโลหิตครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง ซึ่งอาจทาให้หน้ามืดและวูบได้6 หรือผู้ป่วยที่รับประทานยาแก้ปวดข้อหรือปวดเข่า แล้วมีปัสสาวะหรืออุจจาระสีคล้าซึ่งเป็นสัญญาณของอาการเลือดออกในทางเดินอาหาร ควรหยุดรับประทานยาและให้รีบไปพบแพทย์ที ยากลุ่มที่ผู้สูงอายุควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ ยานอนหลับ ยาคลายเครียด ยาแก้แพ้ และยาแก้ปวด ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น เวียนศีรษะ ง่วงซึม สับสน และเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) อาจทาให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูงขึ้นหรือไตวายได้ ดังนั้นจึงควรเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ยากลุ่มนี้ในผู้สูงอายุที่มีประวัติความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือโรคไต ส่วนผู้สูงอายุที่ใช้ยาหลายชนิดร่วมกันมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหายาตีกัน อาจทาให้เกิดผลข้างเคียงจากยารุนแรงขึ้น เช่น ยาแก้ปวดชนิดที่ทาให้มีอาการง่วงซึมเมื่อรับประทานร่วมกับยานอนหลับอาจกดสมองทาให้หลับลึกจนเกิดอันตรายได้ หรือยาฆ่าเชื้อบางชนิด เมื่อรับประทานพร้อมนม แคลเซียม หรือยาลดกรด จะทาให้การดูดซึมของยาลดลง จะต้องรับประทานห่างกันอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหายาตีกันที่อาจเกิดขึ้นได้

6. การรับประทานวิตามิน สมุนไพร หรืออาหารเสริม
สมุนไพรหรืออาหารเสริมบางชนิดไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคไต เพราะอาจทาให้แร่ธาตุในร่างกายผิดปกติหรือการทางานของไตแย่ลงได้ หรือการใช้ยาลูกกลอนในผู้สูงอายุที่มีปัญหาปวดข้อต่างๆตามร่างกายซึ่งผู้สูงอายุอาจเข้าใจว่าทามาจากสมุนไพร แต่ส่วนใหญ่มักมีการผสมยาสเตียรอยด์7 ทาให้หายปวดข้อได้จริงแต่มีผลเสียตามมา เช่น กระดูกพรุน ต่อมหมวกไตฝ่อ เป็นเบาหวาน และความดันโลหิตสูง การเลือกใช้จึงควรมีข้อมูลทางวิชาการที่ยืนยันถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย รวมถึงแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อนการเริ่มใช้สมุนไพรหรืออาหารเสริมต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดตามมา

7. นายาทั้งหมดมาพบแพทย์เมื่อมาตรวจตามนัด
ในผู้สูงอายุร่างกายจะขจัดยาได้ลดลง จึงอาจมีฤทธิ์ของยาตกค้างในร่างกายได้ โดยเฉพาะถ้ายานั้นมีพิษต่อตับหรือไตก็จะยิ่งทาให้การทางานของตับหรือไตเสื่อมสภาพลง ดังนั้นในการมาพบแพทย์ทุกครั้งจึงควรนายาที่ใช้ทั้งหมดมาพบแพทย์ เพื่อลดการจ่ายยาซ้าซ้อน เป็นการติดตามผลการรักษาและปรับขนาดยาที่ใช้ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละราย
ยาทุกชนิดที่เราใช้นั้นมีทั้งคุณประโยชน์และโทษมหันต์ หากผู้สูงอายุหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุ เห็นถึงความสาคัญของการใช้ยา มีส่วนร่วมในการตัดสินใจรักษาร่วมกับทีมสุขภาพ สนใจติดตามอาการผิดปกติหลังจากการได้รับยา รวมทั้งการมีเป้าหมายร่วมกันกับทีมสุขภาพ สิ่งเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการใช้ยาที่ปลอดภัย สามารถลดปัญหาและผลกระทบที่อาจเกิดจากการใช้ยาหลายขนานได้

อ้างอิง
1. Older Population and Health System: A profile of Thailand. The United Nation 1999.
http://www.who.int/ageing/projects/intra/phase_one/alc_intral_cp_thailand.pdf. Access ed March 1, 2018.
2. ผ่องพรรณ อรุณแสง และคณะ. ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในสถาบันบริการสุขภาพและในชุมชน.
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2555; 35(2): 3-4.
3. ศิรสา เรืองฤทธิ์ชาญกุล. การใช้ยาร่วมกันหลายขนานในผู้สูงอายุ. Ramathibodi Medical Journal
2018; 24(1): 96-97.
4. นิตยา สมบัติแก้ว และเดือนทิพย์ เขษมโอภาส. ใน อัจฉรา พุ่มดวง (บรรณาธิการ). การให้ยา
(Administering Medications). การพยาบาลพื้นฐาน: ปฏิบัติการพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 4) 2559;
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย: กรุงเทพฯ.
5. นิพาวรรณ ไวศยะนันท์ และ เบญจมาศ สุขสถิตย์. การบริหารอินซูลินด้วยตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1.
วารสารพยาบาลทหารบก 2560; 18: 17-19.
6 ศรัทธา ประกอบชัย, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, และพีระ บูรณกิจเจริญ. ปัจจัย
ที่มีผลต่อพฤติกรรมการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. Journal of Nursing Science
2014; 32(4): 6-7.
7. จริยา อัครวรัณธร และ ศรัณยพร กิจไชยา. โครงการสารวจการปนเปื้อนสารสเตียรอยด์ในยาแผน
โบราณใน 9 จังหวัด. วารสารอาหารและยา 2557; 69-71.

Facebook
Twitter