ในปัจจุบัน คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผูสู้งอายุอย่างเต็มรูปแบบในปีพ.ศ.2564นี้ ภัยเงียบที่มากับสังคมผูสู้งอายุคือโรคกระดูกพรุน ซึ่งจะส่งผลใหผู้ป่วยมีกระดูกหักได้ง่ายกว่าปกติโดยเฉพาะกระดูกสะโพก และกระดูกสันหลัง ภาวะกระดูกสะโพกหักในผูสู้งอายุ เป็นภาวะการบาดเจ็บที่ถือว่ารุนแรงและอาจถึงแก่ชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และ ทันการ โดยความเสี่ยงของการหักเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเมื่อคนเราอายุเพิ่มขึ้น กระดูกจะเริ่มบางลง เรียกว่าภาวะกระดูกพรุน นอกจากนี้คนสูงอายุมักมียาประจำตัวหลายชนิดซึ่งอาจมีผลข้างเคียงทำให้ง่วงหรือมึนงง สายตาฝ้าฟางมองไม่ชัด และมีปัญหาเรื่องการทรงตัวที่ไม่ดี ปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดทำให้ผู้สู้งอายุมีแนวโน้ม ที่จะล้มแล้วเกิดภาวะกระดูกสะโพกหักตามมาเมื่อกระดูกสะโพกหัก ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณรอบสะโพก ไม่สามารถเดินหรือยืนลงน้ำ หนักที่ขาข้างนั้นได้อาจยืนได้แต่ปวดมากที่บริเวณข้อสะโพกหรือต้นขา, พบรอยช้ำที่สะโพกข้างที่ล้ม, ขาข้างที่ได้รับบาดเจ็บสั้นลงกว่าอีกข้าง และ ไม่สามารถขยับสะโพกได้ซึ่งสาเหตุของอุบัติเหตที่พบมากที่สุดคือ การหกล้มลงบนพื้น ในผู้สูงอายุบางรายกระดูกพรุนมาก แค่ยืนแล้ว มีการบิดตัว อาจทำให้กระดูกสะโพกหักได้เช่นกัน สำหรับภาวะแทรกซ้อนที่มักเกิดตามมาจากภาวะกระดูกสะโพกหัก คือ ผู้ป่วยจำนวนครึ่งหนึ่งจะไม่สามารถกลับไปเดินเหมือนเดิมได้อีก ทำให้กลายเป็นผู้ป่วยนอนติดเตียง ซึ่งจะทำ ให้เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ลิ่มเลือดอุดตันที่ขา, แผลกดทับ, การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะและทางเดินหายใจ เป็นต้น โรคแทรกซ้อนเหล่านี้เป็นสาเหตุหลักในการเสียชีวิตของผู้ป่วยสูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหัก การป้องกันสามารถทำได้โดยการดูแลตนเองไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุนด้วยการ
1. รับประทานแคลเซียมอย่างน้อยวันละ 1000-1200 มิลลิกรัม และวิตามินดีอย่างน้อยวันละ 600 i.u.
2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
3. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มสุรา
4. จัดบ้านให้เป็นระเบียบเพื่อป้องกันการหกล้ม
5. ตรวจสุขภาพการมองเห็นเป็นประจำ
6. ปรึกษาแพทย์ ถ้ายาที่ท่านทานทำให้ง่วง หรือ อ่อนเพลีย
7. ลุกขึ้นยืนช้าๆ เดินด้วยความระมัดระวัง
8. ใชไม้เท้า หรือ ไม้ค้ำยันแบบสี่ขาช่วยพยุง การวินิจฉัยกระดูกสะโพกหักทำได้โดยการเอกซเรย์ข้อสะโพก ซึ่งต้องพาผู้ป่วยมาที่โรงพยาบาล ไม่ควรรอ เนื่องจากจะทำให้การรักษาช้า และ เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา
การรักษาแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
1.การผ่าตัดเปลี่ยนขอ้ สะโพกเทียม (Total hip arthroplasty, Hemiarthroplasty) ซึ่งใช้ในกระดูกคอสะโพกหัก (Neck of femur)
2.การผ่าตัดยึดตรึงกระดูกด้วยโลหะดาม (Cephalomedullary nail, DHS) ซึ่งใช้ในกระดูกหักบริเวณอินเตอร์โทรแคนเตอร์ (Intertrochanter of femur) ผู้ป่วยสามารถเริ่มฝึกเดินได้ทันทีหลังจากการผ่าตัด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และศัลยแพทย์กระดูกจะทำ การประเมินและให้การรักษาภาวะกระดูกพรุนด้วยยาก
Bisphosphonate ร่วมกับเสริมแคลเซียมและวิตามินดี อีกทั้งมีทีมกายภาพบำบัด, จักษุแพทย์ และอายุรแพทย์ผู้สูงอายุร่วมดูแล เป้าหมายของการรักษาคือ ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้เหมือนปกติ ก่อนที่จะเกิดกระดูกหัก ขอสรุปว่าภาวะกระดูกหักในผู้สูงอายุ เป็นภาวะที่ฉุกเฉินและจำ เป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด ภายใน 48-72 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน ซึ่งอาจจะส่งผลให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตได้ สำหรับความเชื่อที่ว่า “อายุมากแล้ว ผ่าไปเดี๋ยวก็ตาย” นั้นไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะถ้าสามารถผ่าตัดได้โอกาสรอดชีวิตในกลุ่มที่ผ่าตัดสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ผ่าตัดแน่นอน
บทความโดย
นพ.พงศกร บุบผะเรณู
ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย