การใช้ยาอย่างปลอดภัยในผู้สูงอายุ

อ.ดร.สุภลักษณ์ ธานีรัตน์ อ.พัชรินทร์ วรรณโพธิ์ ประเทศไทศเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ในปี พ.ศ.2560 โดยมีการคาดการณ์ว่าใน พ.ศ. 2563 จะมีจานวนผู้สูงอายุถึง 11 ล้านคน1 จากการศึกษาภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน พบว่ามีความเสื่อมของสภาพร่างกายในหลายๆด้าน ได้แก่ การสูญเสียความจา (ร้อยละ 63) การมองเห็นไม่ชัดเจนหรือตามัว (ร้อยละ 52.9) ความผิดปกติของการเคลื่อนไหว (ร้อยละ 22.1) และการได้ยินไม่ชัดเจน (ร้อยละ 16.2) อีกทั้งมักมีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และหัวใจ2 ผู้สูงอายุจึงมีความจาเป็นต้องได้รับยาหลายชนิด ซึ่งมีโอกาสที่ผู้สูงอายุจะได้รับยาเกินความจาเป็น จากสภาพการณ์ดังกล่าว อาจส่งผลให้ผู้สูงอายุรับประทานยาเกินขนาด ลืมรับประทานยา และบางคนรับประทานยาสมุนไพรที่ไม่มีเอกสารกากับยา เสี่ยงต่อการได้รับสารเสตียรอยด์ รวมทั้งอาจเกิดกลุ่มอาการผู้สูงอายุ (Geriatric syndrome) เช่น ความจาบกพร่อง (Cognitive impairment) ภาวะสับสนเฉียบพลัน (Delirium) กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ (Urinary and fecal incontinence) […]

การจัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ

สภาพแวดล้อมทางกายภาพ เป็นส่วนสำคัญสำหรับการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ เพราะอุบัติเหตุของผู้สูงอายุมักเกิดจากสภาพสิ่งแวดล้อมที่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่  เช่นการเกิดอุบัติเหตุในบ้าน นับตั้งแต่การหกล้ม  การเดินชนสิ่งกีดขวาง  ดังนั้นการจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยจะช่วยในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุสำหรับผู้สูงอายุได้ ซึ่งมีข้อแนะนำดังนี้ 1) พื้น ควรปรับให้มีลักษณะเป็นพื้นเรียบ ไม่ขรุขระและไม่ขัดมันจนลื่น 2) บันได ควรติดตั้งราวจับที่มั่นคงเพื่อให้สะดวกในการยึดเกาะเดินขึ้นลง บันไดในแต่ละขั้นควรมีความสูงเสมอกัน และไม่ชันมากจนเกินไป และควรมีแสงสว่างเพียงพอตลอดแนวบันได 3) แสงสว่าง ควรจัดให้มีแสงสว่างที่เพียงพอโดยเฉพาะบริเวณบันได ห้องน้ำ ประตู และทางเดิน สวิตซ์ไฟอยู่ในตำแหน่งที่ผู้สูงอายุสามารถใช้ได้สะดวก เปิด-ปิดง่าย 4) ประตู ไม่ควรมีธรณีประตูเพราะเป็นสาเหตุของการสะดุดหกล้ม ประตูควรเป็นบานเลื่อน หรือประตูแบบเปิดออก เพื่อให้คนอื่นสามารถเข้าไปช่วยเหลือได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุหกล้ม     5) ห้องนอนควรจัดให้อยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ร้อนอบอ้าวจนเกินไป รวมทั้งมีแสงสว่างเพียงพอ ข้างเตียงควรมีราวจับ เพื่อป้องกันการหกล้มจากเตียงโดยเฉพาะเวลาตื่นนอนตอนเช้า 6) เก้าอี้ ควรมีพนักพิง และมีความสูงในระดับที่สามารถวางเท้าถึงพื้นได้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการทรงตัวของผู้สูงวัยในขณะที่นั่ง อีกทั้งเก้าอี้สำหรับผู้สูงวัยก็ไม่ควรทำด้วยวัสดุที่หนักเกินไป เพราะจะทำให้ยากต่อการเลื่อนหรือขยับเก้าอี้ได้ 7) สัญญาณขอความช่วยเหลือเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรติดไว้ตามจุดต่างๆภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นห้องนอน ห้องน้ำ/ห้องส้วม หรือห้องที่ผู้สูงอายุใช้เป็นประจำ เพราะเวลาเกิดเหตุอะไรขึ้นจะได้เข้าไปช่วยเหลือได้ทัน 8) การเลือกใช้สีในการตกแต่งบ้าน […]

การแก้ไขปัญหาปัสสาวะเล็ดราด

การแก้ไขปัญหาปัสสาวะเล็ด ราด อ.กนิษฐา ถนัดกิจ   แนวทางในการจัดการกับปัญหาปัสสาวะเล็ด-ราด… 1. อาหารบางอย่างบางชนิด ทาให้เกิดปัสสาวะมากขึ้น ควรหลีกเลี่ยง เช่น แอลกอฮอล์ น้าหวาน น้าอัดลม ชา กาแฟ ช็อคโกแลต น้ามะเขือเทศ น้าแตงโม อาหารรสจัด 2. ลดน้าหนักตัว ผลจากการวิจัยพบว่า คนที่มีน้าหนักตัวสูง และอ้วน หากมีการลดน้าหนักตัวลง จะทาให้อัตราการเกิดปัสสาวะเล็ดลดลงได้ 3. ทาการบริหารกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ ผลจากการวิจัย พบว่ามีการบริหารร่างกายบางอย่าง สามารถทาให้การทางานของกระเพาะปัสสาวะดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น• การบริหารด้วยท่า Kegel (exercises) จะทาให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรงขึ้น การบริหารด้วยท่วงท่า Kegel ในการบริหารร่างกายตามท่วงท่า Kegel exercise นั้น หมายถึงการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้เกิดความแข็งแรง โดยผ่านกระบวนการเกร็งกล้ามเนื้อให้แน่น แล้วตามด้วยการคลายกล้ามเนื้อ ทาสลับกันไป สาหรับตาแหน่งของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่ต้องทาการบริหาร ซึ่งท่านสามารถทราบได้โดย 1. การกลั้นปัสสาวะในช่วงกลางของการขับ แล้วตามด้วยการปล่อยให้น้าปัสสาวะไหลตามเดิมกล้ามเนื้อที่ทาให้ปัสสาวะหยุดไหล คือกล้ามเนื้อที่ต้องการบริหาร หรือ 2. […]

เรื่องร้อนๆ ในผู้สูงอายุ: Heat stroke

อาจารย์นฤมล เหล่าโกสิน อาจารย์ ดร.สารนิติ บุญประสพ ผู้สูงอายุเป็นวัยที่เกิดปัญหาจากความร้อนได้ง่ายกว่าคนวัยอื่น เนื่องจากผิวหนังของผู้สูงอายุไม่สามารถคลายความร้อนเพื่อควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ได้ดี เพราะจานวนต่อมเหงื่อลดลงและเสียหน้าที่ รวมทั้งหลอดเลือดฝอยลดลง เมื่ออุณหภูมิภายนอกเพิ่มขึ้นจะไม่สามารถขับเหงื่อและระบายความร้อนออกได้ทัน อาจเกิดภาวะอุณหภูมิกายสูง (Hyperthermia) ส่งผลให้เป็นลมแดดและ Heatstroke ได้ง่าย Heat stroke (โรคลมความร้อน) เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถลดอุณหภูมิกายลงได้ และเป็นผลให้เกิดมีภยันตรายต่อระบบอวัยวะในร่างกาย เป็นภาวะที่ต้องได้รับการบาบัดอย่างทันท่วงทีเนื่องจากอาจทาให้เสียชีวิตได้สูงมาก ผู้ป่วยที่เป็น heatstroke มักมาด้วยอาการสามอย่าง คือ มีไข้สูง (อุณหภูมิแกนสูงกว่า 40.5 องศาเซนเซียส) ระบบประสาทส่วนกลางทางานผิดปกติ และไร้เหงื่อ อาการอื่นๆ เช่น เพ้อ ชัก ไม่รู้สึกตัว ไตล้มเหลว หายใจเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ช็อค เป็นต้น   การช่วยเหลือเบื้องต้น 1. นาผู้สูงอายุเข้าในร่ม 2. จัดให้นอนราบ ยกเท้าสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด 3. ถอดเสื้อผ้า ใช้น้าเย็นประคบบริเวณ ใบหน้า ข้อพับ […]

ไข้หรือตัวร้อนในเด็ก

ไข้หรือตัวร้อนในเด็ก   ไม่ได้เป็นโรค แต่เป็นอาการของโรค คาจากัดความของไข้แบง่ ตามอายุได้ดังนี้ ในทารกวัย 4 สัปดาห์แรกหลังเกิด หมายถึง อุณหภูมิกายแกนกลางร่างกายสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ในทารกพ้นวัย 1 เดือน มีความแตกต่างของคาจากัดความ ที่กาหนดเป็นลายลักษณ์อักษรคืออุณหภูมิเท่ากับ หรือสูงกว่า 38.0 องศาเซลเซียส (เอกสารในบรรณานุกรม) การวัดอุณหภูมิ  อุณหภูมิที่ใช้ต้องเป็นอุณหภูมิแกนกลางร่างกาย ได้แก่อุณหภูมิที่วัดทางปากหรือทวารหนัก เด็ก อายุมากกว่า 4 ปีให้วัดทางปาก ถ้าไม่ร่วมมือ ให้วัดทางรักแร้ด้วยปรอทแก้วหรือดิจิตัล ค่าที่วัดจะเชื่อถือได้เมื่อวัด นานจนเสียงสัญญาณครั้งที่ 2 ดัง ซึ่งใช้เวลาวัดอุณหภูมิรักแร้นานประมาณ 9 นาที ค่าที่ได้จะเท่ากับการวัดอุณหภูมิ แกนกลางร่างกาย ค่าที่อ่านเมื่อเสียงสัญญาณแรกดังจะสูงกว่าความเป็นจริง (ค่าที่อ่านเมื่อเสียงสัญญาณครั้งที่ 2 ดัง) การวัดด้วยวิธีอื่น เช่น การวัดที่หู หรือหน้าผาก เป็นวิธีที่ไม่แม่นยา   ความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง  เวลามีไข้ไม่จาเป็นว่าทุกส่วนของร่างกายจะต้องร้อนเท่ากันหมด อาจร้อนที่ศีรษะ ลาตัว และ แขนขา […]

ภาวะความเปราะบางในผู้สูงอายุ

สังคมกับความเปราะบางของผู้สูงอายุ ในปี 2561 ที่ผ่านมา นับเป็นครั้งแรกที่สัดส่วนของผู้สูงอายุมีมากกว่าสัดส่วนประชากรวัยเด็ก โดยไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุเกือบ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมดของประเทศ จำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้ามาเป็นสังคมสูงวัยที่กำลังจะกลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในอีก 3 ปีข้างหน้า อันเป็นผลมาจากการที่คนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น ในขณะที่จำนวนเด็กเกิดใหม่ลดลง ส่งผลให้ประชากรวัยแรงงานมีแนวโน้มลดลงไปด้วย โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไปนี้ย่อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เนื่องด้วยแบบแผนของสังคมไทยที่ครอบครัวนั้นมีส่วนสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ แต่ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ทำให้แบบแผนการอยู่อาศัยร่วมกันในครอบครัวของผู้สูงอายุเปลี่ยนแปลงไป โดยในงานวิจัยเรื่อง “การดูแลผู้สูงอายุในครัวเรือนซึ่งมีรูปแบบการอยู่อาศัยที่หลากหลายในสังคมไทย เพื่อประเมินความเข้มแข็งและความต้องการสนับสนุนของครัวเรือน” ได้ชี้ให้เห็นภาพการดูแลผู้สูงอายุในสังคมไทย ผ่านการศึกษารูปแบบการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุไทยเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการใช้ชีวิตร่วมกันของสมาชิกในครัวเรือนผู้สูงอายุ และชี้ให้เห็นนัยยะของการดูแลผู้สูงอายุในครัวเรือนเปราะบาง รวมถึงความต้องการสนับสนุนของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ     ผู้สูงอายุในครัวเรือนเปราะบาง ผู้สูงอายุสำหรับประเทศไทยนั้นหมายถึงบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัยที่มีความอ่อนแอและมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกชักจูง ครอบงำ และคุกคามจากปัจจัยเสี่ยงด้านต่าง ๆ เช่น สุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงได้ให้นิยาม “ความเปราะบาง” ด้านการดูแลผู้สูงอายุ กล่าวคือ ครัวเรือนที่ผู้สูงอายุต้องดูแลตนเอง ดูแลผู้สูงอายุด้วยกัน หรือต้องดูแลผู้อื่นที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน และต้องรับบทบาทในการดูแลตนเองหรือต้องดูแลคนอื่น โดยเราสามารถแบ่งรูปแบบการอยู่อาศัยของครัวเรือนผู้สูงอายุที่มีความเปราะบาง ออกเป็น 5 รูปแบบ […]

ภาวะหยุดหายใจขนาดหลับ

ภาวะการหยุดหายใจขณะนอนหลับ กรนเรื่องบนเตียงที่อาจทำให้ท่านตายได้เมื่อพูดถึงการนอนกรน จะมีคนจำนวนมากที่มีความรู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติ และไม่มีความรู้สึกว่าเป็นความผิดปกติที่จะต้องมารับการรักษา จริง ๆ แล้วนอกเหนือจากเป็นการบั่นทอนสัมพันธภาพที่มีต่อเพื่อนร่วมห้องนอนแล้วการกรนอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะความผิดปกติบางอย่างที่อาจทำให้มีผลเสียทางสุขภาพที่ร้ายแรงตามมาได้      ภาวะกรน ภาวะกรน คือ กลไกสำคัญของการหายใจคือการที่มีอากาศผ่านเข้าไปสู่ทางเดินหายใจส่วนล่างคือในปอดผ่านทางช่องทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ ช่องปาก คอ คนปกติเวลานอนหลับกล้ามเนื้อของทางเดินหายใจส่วนบนที่ทำหน้าที่ในการขยายทางเดินหายใจจะมีการคลายตัวและกลไกการกระตุ้นการหายใจจะลดลง ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนมีลักษณะที่แคบกว่าเดิม ภาวะดังกล่าวเมื่อร่วมกับปัจจัยอื่น เช่น ลิ้นตกลงไปในทางเดินหายใจ มีก้อนในทางเดินหายใจ จะทำให้เกิดเสียงกรนเกิดขึ้น พบว่าในบางภาวะเสียงกรนอาจดังกว่าปกติได้ เช่น ถ้ามีการดื่มเหล้า หรือมีอาการเพลียมาก ทำให้นอนหลับลึก ก็จะทำให้มีอาการกรนมากขึ้น และในบางรายการกรนอาจมีความสัมพันธกับการนอนบางท่า เช่น การนอนหงาย  ในกรณีที่ทางเดินหายใจส่วนบนมีขนาดแคบลง ถึงจุดหนึ่งจะเกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจเกิดขึ้น ทำให้อากาศไม่สามารถผ่านเข้าไปในทางเดินหายใจได้ ซี่งช่วงนี้จะสังเกตได้ว่าเสียงกรนของผู้ป่วยที่ดังมาอย่างต่อเนื่องจะเงียบหายไปเป็นช่วง ๆ เนื่องจากไม่มีลมผ่านเข้าไปในปอด ถ้าการอุดกั้นเกิดขึ้นสักระยะหนึ่ง ก็จะทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนในเลือด หัวใจเต้นเร็ว และผู้ป่วยก็จะตื่นหรือนอนหลับต่อไปไม่ได้   ผลเสีย สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้บ่อยๆทั้งคืนทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของผู้ป่วยตามมาคือ ผู้ป่วยจะมีอาการนอนไม่สนิท ทำให้มีอาการง่วงนอนมากเวลากลางวัน มีความสามารถในการทำงานลดลง และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุระหว่างการขับรถยนตร์หรือประกอบอาชีพต่างๆ ได้สูงขึ้น เชื่อว่าอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่ผู้ป่วยหลับในส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากผู้ขับรถที่มีภาวะการนอนหลับที่ผิดปกติ และมีอาการง่วงนอนในเวลากลางวันและหลับในทำให้ขับรถชน ผู้ป่วยจะมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำเป็นช่วงๆ ทำให้มีโอกาสเกิดความดันโลหิตสูง โรคเส้นโลหิตสมองตีบหรือแตกง่ายขึ้น […]