ไข้หวัดใหญ่ในเด็ก
โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่พบได้บ่อยในเด็ก เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ มี 3 ชนิดที่ก่อโรคในมนุษย์ คือ เอ บี และซี ชนิดเอ (H1N1 และ H3N2) และบี (ตระกูลวิคตอเรีย และยามากาตะ) เป็นเชื้อที่พบบ่อย ส่วนชนิดซีพบได้น้อย โรคนี้พบได้ตลอดทั้งปี แต่มักพบบ่อยในช่วงหน้าฝน หรือ หน้าหนาว อาการของไข้หวัดใหญ่ที่สำคัญได้แก่ 1.ไข้อาจมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย 2.ไอ เจ็บคอ น้ำ มูกไหล 3.ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดหัว และอ่อนเพลีย 4. คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย (มักพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่) อาการของไข้หวัดใหญ่นี้มีได้หลากหลายตั้งแต่น้อยไปจนถึงมาก ขึ้นกับว่าเคยมีภูมิคุ้มกัน หรือได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อนหรือไม่ ส่วนใหญ่มักมีอาการ 2-3 วัน และไม่เกิน 2 สัปดาห์ อาการที่รุนแรง และควรได้รบการรักษาอย่างเร่งด่วน คือ หายใจเร็ว เจ็บหน้าอก ซึมลง และ อาเจียนตลอดเวลา โรคนี้สามารถแพร่เชื้อได้โดยละอองฝอยจากการไอ […]
ภาวะการหยุดหายใจขณะนอนหลับ
กรนเรื่องบนเตียงที่อาจทำ ใหท่านตายได้เมื่อพูดถึงการนอนกรน จะมีคนจำ นวนมากที่มีความรู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติ และไม่มีความรู้สึกว่าเป็นความผิดปกติที่จะต้องมารับการรักษา จริง ๆ แล้วนอกเหนือจากเป็นการบั่นทอนสัมพันธภาพที่มีต่อเพื่อนร่วมห้องนอนแล้ว การกรนอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะความผิดปกติบางอย่างที่อาจทำให้มีผลเสียทางสุขภาพที่ร้ายแรงตามมาได้ ภาวะกรน ภาวะกรน คือ กลไกสำ คัญของการหายใจคือการที่มีอากาศผ่านเข้าไปสู่ทางเดินหายใจส่วนล่างคือ ในปอดผ่านทางช่องทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ ช่องปาก คอ คนปกติเวลานอนหลับกล้ามเนื้อของทางเดินหายใจส่วนบนที่ทำหน้าที่ในการขยายทางเดินหายใจจะมีการคลายตัว และ กลไกการกระตุ้น การหายใจจะลดลง ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนมีลักษณะที่แคบกว่าเดิม ภาวะดังกล่าวเมื่อร่วมกับปัจจัยอื่น เช่น ลิ้นตกลงไปในทางเดินหายใจ มีก้อนในทางเดินหายใจ จะทำให้เกิดเสียงกรนเกิดขึ้น พบว่าในบางภาวะเสียงกรนอาจดังกว่าปกติได้ เช่น ถ้ามีการดื่มเหล้า หรือ มีอาการเพลียมาก ทำให้นอนหลับลึก ก็จะทำให้มีอาการกรนมากขึ้น และ ในบางรายการกรนอาจมีความสัมพันธกับการนอนบางท่า เช่น การนอนหงาย ในกรณีที่ทางเดินหายใจส่วนบนมีขนาดแคบลง ถึงจุดหนึ่งจะเกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจเกิดขึ้น ทำให้อากาศไม่สามารถผ่านเข้าไปในทางเดินหายใจได้ ซี่งช่วงนี้จะสังเกตได้ว่าเสียงกรนของผู้ป่วยที่ดังมาอย่างต่อเนื่องจะเงียบหายไปเป็นช่วง ๆ เนื่องจากไม่มีลมผ่านเข้าไปในปอด ถ้าการอุดกั้นเกิดขึ้นสักระยะหนึ่ง ก็จะทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนในเลือด หัวใจเต้นเร็ว และผู้ป่วยก็จะตื่น หรือ นอนหลับต่อไปไม่ได้ ผลเสีย สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นไดบ้อยๆทั้งคืน ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของผู้ป่วยตามมาคือ 1. […]
แม่เบาหวาน ทารกเสี่ยงตายสูง ต้องใส่ใจฝากครรภ์
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์พบได้บ่อยถึงร้อยละ 7 ของการตั้งครรภ์ โดยร้อยละ 86 เป็นโรคเบาหวานที่พบครั้งแรกขณะตั้งครรภ์ ที่พบบ่อยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ไม่ต้องใช้อินซูลิน พบได้บ่อยในคนเอเชีย อ้วนและอายุมาก จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ คือ เพิ่มความเสี่ยงของภาวะครรภ์เป็นพิษ และการผ่าตัดคลอด นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงของการเป็นเบาหวานในตอนอายุมากขึ้นอีกด้วย สำหรับภาวะแทรกซ้อนต่อทารกในครรภ์ คือ ทารกตายในครรภ์ ทารกตัวโต (น้ำหนักแรกเกิด 4 กิโลกรัมขึ้นไป) คลอดติดไหล่ บาดเจ็บจากการคลอด ทารกแรกเกิดมีน้ำตาลในเลือดต่ำ ตัวเหลือง ทารกที่คลอดจากแม่ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นเด็กอ้วน และ เป็นเบาหวานในอนาคต ปัจจุบันจะมีการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ช่วงอายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เช่น น้ำ หนักตัวมาก อ้วน มีพ่อหรือแม่เป็นเบาหวาน เคยคลอดบุตรตัวโต เคยเป็นเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง จะได้รับการตรวจตั้งแต่มาฝากครรภ์ครั้งแรกในช่วงอายุครรภ์น้อย ๆ การตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์ แพทย์จะให้รับประทานน้ำตาล 50 กรัม แล้วเจาะเลือดที่ 1 ชั่วโมงต่อมา ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าพบมีค่าสูงกว่า 140 […]
ภาวะน้ำ คร่ำ อุดกั้นปอด (Amniotic Fluid Embolism)
ภาวะน้ำ คร่ำ อุดกั้นปอด ภัยเงียบของหญิงตั้งครรภ์ ภาวะน้ำ คร่ำ อุดกั้นปอด เป็นภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์ที่ไม่มีผู้ใดอยากให้เกิดขึ้น เนื่องจากเป็นภาวะที่อันตราย และ อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ในปี พ.ศ. 2484 ได้มีการรายงานโรคนี้เป็นครั้งแรกหลังจากพบส่วนเยื่อบุผิวของทารกอยู่ในเส้นเลือดปอดของมารดาที่เสียชีวิตอย่างกะทันหันในขณะคลอด จากรายงานของต่างประเทศพบว่า ภาวะน้ำ คร่ำ อุดกั้นปอดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในหญิงตั้งครรภ์เป็นอันดับหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนในประเทศที่กำลังพัฒนานั้นพบว่าเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ประมาณร้อยละ 10 ภาวะน้ำ คร่ำ อุดกั้นปอดพบได้น้อย ประมาณ 2 ถึง 8 ของการคลอด 100,000 ครั้ง ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละสถาบันเนื่องจากเกณฑ์การวินิจฉัยยังมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง กลไกการเกิดของภาวะนี้เกิดจากส่วนประกอบของเด็กในน้ำ คร่ำ เข้าสู่กระแสเลือดของมารดา ผ่านทางเส้นเลือดดำ บริเวณปากมดลูก หรือบริเวณที่มีการบาดเจ็บของมดลูก น้ำ คร่ำ และเศษเนื้อเยื่อของทารกซึ่ง ถือได้ว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมปะปนอยู่ในกระแสเลือดของมารดา จะไปกระตุ้น ระบบภูมิคุ้มกันของมารดาให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อน้ำคร่ำ และ เศษเนื้อเยื่อของทารก เป็นเหตุให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงและเฉียบพลัน ซึ่งจัดว่าเป็นภาวะที่อันตรายอย่างมาก ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะนี้ ประกอบด้วย อายุของมารดา การตั้งครรภ์มากกว่า 5 ครั้ง […]
ทำอย่างไรห่างไกลจากโรคอัมพฤกษ์อัมพาต
หลายๆ ท่านอาจจะเริ่มสงสัยว่าแล้ว เราจะหลีกเลี่ยงโรคนี้ได้อย่างไร ซึ่งจากข้อมูลสถิติขององค์การอนามัยโลกพบว่า จริง ๆ แล้วปัจจัยที่ส่งเสริมหรือป้องกันโรคหลอดเลือดสมองนั้น ก็คือพฤติกรรมการกินอยู่ การใช้ชีวิต 5 ประการ ที่เราสามารถควบคุมได้ทั้งสิ้น ปัจจัย 5 ประการที่ควรลด ละ เลิก เพื่อห่างไกล โรคหลอดเลือดสมองได้แก่ 1.เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตั้งใจทำ เพื่อคนที่เรารัก ตั้งเป้าหมายชัดเจนและสามารถเริ่มได้ทันที หากต้องการคำ ปรึกษา ระหว่างกระบวนการเลิก โทร.1413 สายด่วนเลิกสุรา 2.เลิกบุหรี่ ไม่ว่าจะสูบเอง หรือ การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีควันบุหรี่ก็ตาม อาศัยความตั้งใจและเป้าหมายที่ชัดเจน เช่นเดียวกันกับสุรา และควรหากิจกรรมเบี่ยงเบนความสนใจเพื่อไม่ให้กลับไปสูบอีก หากต้องการคำปรึกษา โทร.หาสายด่วนเลิกบุหรี่ 1600 3.เลิกคิดลบ เลิกนอนดึก เลิกเครียด เพราะความคิดและมุมมองก่อให้เกิดอารมณ์ที่ทั้งเป็นบวกหรือเป็นลบได้อารมณ์ที่เป็นลบต่าง ๆ ทั้งเศร้า วิตกกังวล โกรธ ส่งผลต่อระบบการทำงานของอวัยวะสำคัญๆทั้งสิ้น เช่น เมื่อมีอารมณ์โกรธบ่อย ๆ นาน ๆ ทำให้ความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะ […]
กระดูกสะโพกหักในผูสู้งอายุภัยเงียบใกล้ตัว
ในปัจจุบัน คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผูสู้งอายุอย่างเต็มรูปแบบในปีพ.ศ.2564นี้ ภัยเงียบที่มากับสังคมผูสู้งอายุคือโรคกระดูกพรุน ซึ่งจะส่งผลใหผู้ป่วยมีกระดูกหักได้ง่ายกว่าปกติโดยเฉพาะกระดูกสะโพก และกระดูกสันหลัง ภาวะกระดูกสะโพกหักในผูสู้งอายุ เป็นภาวะการบาดเจ็บที่ถือว่ารุนแรงและอาจถึงแก่ชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และ ทันการ โดยความเสี่ยงของการหักเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเมื่อคนเราอายุเพิ่มขึ้น กระดูกจะเริ่มบางลง เรียกว่าภาวะกระดูกพรุน นอกจากนี้คนสูงอายุมักมียาประจำตัวหลายชนิดซึ่งอาจมีผลข้างเคียงทำให้ง่วงหรือมึนงง สายตาฝ้าฟางมองไม่ชัด และมีปัญหาเรื่องการทรงตัวที่ไม่ดี ปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดทำให้ผู้สู้งอายุมีแนวโน้ม ที่จะล้มแล้วเกิดภาวะกระดูกสะโพกหักตามมาเมื่อกระดูกสะโพกหัก ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณรอบสะโพก ไม่สามารถเดินหรือยืนลงน้ำ หนักที่ขาข้างนั้นได้อาจยืนได้แต่ปวดมากที่บริเวณข้อสะโพกหรือต้นขา, พบรอยช้ำที่สะโพกข้างที่ล้ม, ขาข้างที่ได้รับบาดเจ็บสั้นลงกว่าอีกข้าง และ ไม่สามารถขยับสะโพกได้ซึ่งสาเหตุของอุบัติเหตที่พบมากที่สุดคือ การหกล้มลงบนพื้น ในผู้สูงอายุบางรายกระดูกพรุนมาก แค่ยืนแล้ว มีการบิดตัว อาจทำให้กระดูกสะโพกหักได้เช่นกัน สำหรับภาวะแทรกซ้อนที่มักเกิดตามมาจากภาวะกระดูกสะโพกหัก คือ ผู้ป่วยจำนวนครึ่งหนึ่งจะไม่สามารถกลับไปเดินเหมือนเดิมได้อีก ทำให้กลายเป็นผู้ป่วยนอนติดเตียง ซึ่งจะทำ ให้เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ลิ่มเลือดอุดตันที่ขา, แผลกดทับ, การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะและทางเดินหายใจ เป็นต้น โรคแทรกซ้อนเหล่านี้เป็นสาเหตุหลักในการเสียชีวิตของผู้ป่วยสูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหัก การป้องกันสามารถทำได้โดยการดูแลตนเองไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุนด้วยการ 1. รับประทานแคลเซียมอย่างน้อยวันละ 1000-1200 มิลลิกรัม และวิตามินดีอย่างน้อยวันละ 600 i.u. 2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ […]
โรคนิ้วล็อค คืออะไร
โรคนิ้วล็อค หรือ Trigger finger เป็นภาวการณ์อักเสบบริเวณปลอกหุ้มเส้นเอ็น ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อย เนื่องจากมือเป็นอวัยวะสำ คัญที่เราใช้ในชีวิตประจำวันในการทำงาน ยกหรือหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ ผู้ป่วย อาจมีอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้ว รู้สึกสะดุด หรือล็อคขณะงอเหยียดนิ้ว ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนเป็นอาการของโรคนิ้วล็อคทั้งสิ้น ทำไมถึงเป็นโรคนิ้วล็อค โรคนิ้วล็อคเกิดจากการอักเสบบริเวณปลอกหุ้มเส้นเอ็น ซึ่งมักจะสัมพันธ์กับการใช้งานหนัก โดยเฉพาะการเหยียดและงอข้อนิ้วซ้ำ ๆ หรือการกำสิ่งของแน่น ๆ เป็นเวลานาน โดยโรคนี้มักพบในผู้หญิงมากกว่า ผู้ชาย พบมากที่สุดในผู้หญิงวัยกลางคน และมีโอกาสเป็นได้มากขึ้นในผู้ปวยที่เป็นเบาหวาน หรือโรคไต โรคนิ้วล็อคมีอาการอย่างไร อาการและอาการแสดงของโรคนิ้วล็อคมีหลายระดับ สามารถแบ่งตามความรุนแรงได้ดังนี้ 1.มีอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้ว และอาจรู้สึกติดแข็งในตอนเช้า 2.รู้สึกสะดุด หรือมีเสียงเวลาขยับข้อ นิ้ว และอาจคลำได้ก้อนบริเวณโคนนิ้ว 3.นิ้วล็อคติดในท่างอ แต่ยังสามารถจับเหยียดนิ้วออกมาได้ 4.นิ้วล็อคติดในท่างอ โดยที่ไม่สามารจับเหยียดออกมาได้ การวินิจฉัยโรคนิ้วล็อค โรคนิ้วล็อคสามารถวินิจฉัยได้โดยใช้การซักประวัติ และการตรวจร่างกาย โดยแพทย์เฉพาะทางด้าน กระดูกและข้อ หรือแพทย์ทั่วไปที่มีความชำนาญ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการตรวจเอกซเรย์ หรือส่งตรวจพิเศษอื่น ๆ เพิ่มเติมหากแพทย์ไม่ได้สงสัยภาวะอื่น ๆ การรักษาโรคนิ้วล็อค […]
แนะพ่อแม่ดูแลลูกเรียนออนไลน์
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะพ่อแม่ ผู้ปกครอง ดูแลเด็กเรียน Online ที่บ้าน หมั่นสังเกตสายตา เและพฤติกรรมการดูหน้าจอของเด็ก เพื่อป้องกันปัญหาสายตาผิดปกติในระยะยาว หากพบอาการผิด ปกติใหปรึกษาจักษุแพทย์ พร้อมแนะนำ ใหเลือกผัก ผลไมสีเหลือง ส้ม แดง ไข่ ตับ นม ช่วยบำรุงสายตา ให้กับเด็ก นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำ ให้สถานศึกษาในหลายพื้นที่มีการปรับรูปแบบการเรียนการสอน โดยให้โรงเรียนและสถานศึกษาในสังกัดซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ตามข้อกำหนดออกตาม ความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 25) ดำเนินการจัดการเรียนการสอน เฉพาะรูปแบบการจัดการศึกษาทางไกล แบบ On Air, Online, On Demand, On Hand ผ่านทางไปรษณีย์ซึ่งจากข้อมูลกระทรวงศึกษาธิการ ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2564 พบว่า […]
การออกกำลังกายในผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูง
สินีนุช เสนีวงศ์ ณ อยุธยา บทนำ ความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยมีปัจจัยเสี่ยงมาจากพฤติกรรมสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการขาดการออกกำลังกาย การบริโภคอาหารไขมันสูง การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาตามธรรมชาติของผู้สูงอายุเองจากการเสื่อมของหลอดเลือดแดงทำให้หลอดเลือดแดงแข็ง ส่งผลให้ความดันโลหิตตัวบน(Systolic blood pressure) เพิ่มสูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ถึงแม้ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูงจะได้รับการรักษาด้วยการรับประทานยา การออกกำลังกายก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ควรทำควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอื่นๆ เพื่อช่วยให้การควบคุมระดับความดันโลหิตเป็นไปได้ดีกว่าการใช้ยาเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม จากการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติทางสรีรวิทยาและสภาวะของโรคความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุอาจมีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดเวลาเปลี่ยนท่าทางและทิศทางของศีรษะอย่างรวดเร็ว ทำให้สมรรถภาพในการออกกำลังกายมีขีดจำกัด ผู้เขียนจึงขอแนะนำหลักการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูง เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้อีกทางหนึ่งนอกเหนือไปจากการรับประทานยาตามคำสั่งการรักษาของแพทย์ หลักการออกกำลังกายในผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูง การออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูง ควรพิจารณาทั้งในเรื่องของประเภทการออกกำลังกาย ระดับความหนักเบาในการออกกำลังกาย และระยะเวลาในการออกกำลังกาย ผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูงควรออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจน หรือที่เรียกว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิค ไม่ว่าจะเป็น การเดินเร็ว ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน หรือเต้นแอโรบิค(แบบไม่เร็วมาก และไม่มีการเปลี่ยนท่าทางอย่างรวดเร็ว) ซึ่งจะเป็นการออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง การเดินเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสม ปลอดภัย ทั้งยังไม่ต้องใช้อุปกรณ์ประกอบใดๆมากนัก จึงทำให้สะดวก ประหยัดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้การออกกำลังกายควรเน้นกิจกรรมที่มีการใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆในการเคลื่อนไหว เป็นกิจกรรมที่ไม่หนักจนเกินไป ไม่ควรออกกำลังด้วยการเกร็งหรือท่าออกกำลังกายที่ต้องมีการเกร็งค้างมาก เพราะอาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ การออกกำลังกายควรที่จะอยู่ในระดับที่เบาถึงระดับปานกลาง ระยะเวลาในการออกกำลังกายแต่ละครั้งควรอยู่ระหว่าง 30-60 นาทีต่อครั้ง […]
การดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ
อาจารย์วีรวัฒน์ ทางธรรม การมีสุขภาพช่องปากที่ดีมีความสำคัญกับผู้สูงอายุเพราะฟันของผู้สูงอายุที่เหลืออยู่ มีการเปลี่ยนแปลงจากการใช้งานมายาวนาน หรือมีโรคที่เป็นมาตั้งแต่ก่อนถึงวัยสูงอายุ มีการสูญเสียฟัน เกิดช่องว่าง ทำให้การดูแลรักษาความสะอาดทำได้ยากกว่าฟันทั่ว ๆ ไป ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพช่องปากดีจะช่วยให้รู้สึกสบาย รับประทานอาหารได้อร่อยและหลากหลายประเภท มีร่างกายแข็งแรง ช่วยการพูดออกเสียงได้ชัดเจน ไม่ต้องกังวลในการเข้าสังคมและส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ปัญหาสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง 1. ฟันผุและรากฟันผุ โรคฟันผุ มีปัจจัยเสี่ยงคือ ความเจ็บป่วยของโรคทางร่างกาย 2. โรคปริทันต์ โรคเหงือกอักเสบเรื้อรัง ลุกลามเป็นโรคปริทันต์อักเสบ มีผลไปถึงเอ็นยึดฟันและกระดูกเบ้าฟัน ทำให้ฟันโยก 3. ฟันสึก ฟันสึกจากด้านบดเคี้ยวมักพบในฟันกราม จากการขบเคี้ยวอาหารแข็ง หรือกินอาหารที่มีความเป็นกรดสูงบ่อย ๆ หรือใช้เฉพาะบริเวณนั้นเคี้ยวอาหารอย่างต่อเนื่อง 4. น้ำลายแห้ง จากการหลั่งน้ำลายลดลง และอาจเกิดจากการรับประทานยารักษาโรคทางระบบหลายชนิดเป็นเวลานาน ภาวะปากแห้งทำให้เคี้ยว กลืน พูดลำบาก เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ อาจพบการติดเชื้อรา และมีอาการปวดแสบปวดร้อนในปาก การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ 1. การทำความสะอาด การเลือกใช้แปรงสีฟัน ควรเลือกใช้แปรงที่มีด้ามจับได้ถนัดมือ ยาวพอเหมาะ ส่วนตัวแปรงไม่เล็กหรือใหญ่เกินไปเมื่อเทียบกับขนาดช่องปาก มีขนแปรงที่นิ่ม ปลายมน และควรเปลี่ยนแปรงสีฟัน เมื่อขนแปรงบาน […]